การศึกษาการลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยใช้สมุนไพรพอกเข่า
คำสำคัญ:
ข้อเข่าเสื่อม, สมุนไพรพอกเข่า, ความปวดบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ เป็นการศึกษาการลดระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดเข่าโดยใช้สมุนไพรพอกเข่าลดอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 41 ราย แล้วพอกเข่าด้วยสมุนไพร ติดต่อกัน 3 ครั้ง ประเมินอาการผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับการพอกเข่า โดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม Oxford knee score และแบบประเมินความเจ็บปวด Visual pain core วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัย มีระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมน้อยลงกว่าก่อนการพอกเข่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังพอกเข่าครบ 3 ครั้ง เท่ากับ 34.90 คะแนนเปรียบเทียบกับก่อนพอกเข่า ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.78 คะแนน และเมื่อประเมินโดยใช้ Visual pain score ระดับความปวดคะแนนเฉลี่ยน้อยลงกว่าก่อนการพอกเข่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดหลังพอกเข่าครบ 3 ครั้ง เท่ากับ 3.98 เปรียบเทียบกับก่อนพอกเข่า 6.83 คะแนน สมุนไพรพอกเข่าจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานพยาบาลเพื่อรักษาอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
Department of Economic and Social Affairs, United Nations. World Population Prospects 2022: Summary of Results. United Nations, New York; 2022.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/1
สมาคมอายุรศาสตร์ผู้ป่วยนอก. กลยุทธ์การบริบาลผู้ป่วยนอก: Ambulatory Medicine Novel Strategies in Ambulatory Medicine. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์; 2565. หน้า 165-166.
ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, สุวรรณี สร้อยสงค์, บุศริน เอี่ยวสีหยก. การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2561; 29(1): 223-38.
พิพัฒน์ เพิ่มพูล.คู่ มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/213/Osteoarthritis.pdf
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. การพัฒนาบริการ การดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/11/4.1.35.1บริการพอกเข่าผป.ข้อเข่าเสื่อม.pdf
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. กรมการแพทย์แผนไทยฯ ชูนวัตกรรมยาพอกเข่า บรรเทาข้อเข่าเสื่อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์สำหรับประชาชน. DTAM NEWS: ข่าวเพื่อมวลชน; 2566 เข้าถึงได้จาก: https://www-old.dtam.moph.go.th/index.php/th/dtam-news/dn/10280-dn0182.html
สัณหจุฑา พวงมาลาและคณะ. การศึกษาประสิทธิผลและประเมินดัชนีคุณภาพชีวิตของยาพอกเข่าในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า [อินเตอร์เน็ท].ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยรังสิต; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://orientalmed.rsu.ac.th/Doc/20230914042921/7%20Sanhajutha.pdf
วัลลภา ดิษสระ, กิตติพงษ์ สอนล้อม, บุญประจักษ์ จันทร์วิน. ผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566; 38(1): 163-73.
ดิสพล แจ่มจันทร์, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ประสิทธิผลของยาพอกเข่าสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าสำหรับผู้ป่วยมีอาการข้อเข่าเสื่อม: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2565; 31(2): 14-28.
ดาลียัณ สาและ, นูรอัสมา ปุติ, สุธินี หูเขียว. ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรสูตรหมอแลคอต่อการรับรู้อาการปวดข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2567; 22(1): 19-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.