ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Tassanee Nakonchai โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

คำสำคัญ:

การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในผู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี โดยศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ติดเชื้อและเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ช่วง ตุลาคม 2556 ถึง กันยายน 2559 รวม 158 แฟ้ม เครื่องมือใช้แบบบันทึกผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอ้างอิง คือไคสแควร์ พบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อดื้อยาหลายขนาน ส่วนมากเพศชาย อายุ 45 - 60 ปี ผอม มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่และดื่มสุรา รักษาด้วยยาสเตียรอยด์ พบในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งในท่อน้ำดี ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินหายใจ และระบบผิวหนังเนื้อเยื่อ ได้รับเชื้อมาจากชุมชน และเชื้อดื้อยา ได้แก่ Escherichia coli, Klebsiella pneumonia และ Staphylococcus aureus ยาปฏิชีวนะที่เชื้อดื้อยา ได้แก่ Ceftazedime, Cefotaxime และ Ceftriaxone ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฎิชีวนะขณะรักษาตัว 2 – 4 ชนิด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อดื้อยาหลายขนาน ได้แก่ เพศ อายุ โรคมะเร็งที่เป็น ระบบที่พบการ ติดเชื้อ โรคประจำตัว แหล่งที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อ ระยะเวลาที่รักษาตัวในโรงพยาบาล การสูบบุหรี่/ดื่มสุรา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-02