คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งปากมดลูกที่รักษาในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Aroonrat Promput Promput โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
  • Pissamai Kunawat โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก 113 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การ อนามัยโลกชุดย่อ  (WHOQOL-THAI)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย พบว่าผู้ป่วยส่วนมากอายุ 45–60 ปี (46.9%) อายุเฉลี่ย 51 ปี อาชีพเกษตรกร(56.6%) การศึกษาประถมศึกษา(75.2%) สถานภาพสมรสคู่(69.0%) รายได้น้อยกว่า 50,000 บาท/ปี(50.4%) เฉลี่ย 56,410 บาท/ปี ได้รับการรักษา1-2 ครั้ง (79.5%) พบอาการผิดปกติ 3 อันดับแรก คือ 1) เบื่ออาหาร (54.0%) บรรเทาอาการโดยรับประทานอาหารทีละน้อย หลากหลายชนิด  อาหารเสริม 2) เหนื่อยล้า (42.5%) บรรเทาอาการโดยการพักผ่อน 3) ความเจ็บปวด (39.8%) บรรเทาอาการโดยการพักผ่อน สวดมนต์ นวดผ่อนคลาย และให้ยาแก้ปวด

ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งปากมดลูกพึงพอใจต่อสุขภาพตนเองในระดับดี คุณภาพชีวิตตามความรู้สึกของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับดี คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี จำแนกเป็นด้าน ประกอบด้วย  4  ด้าน  คือ 1)  ด้านสุขภาพกาย อยู่ในระดับปานกลาง 2)  คุณภาพด้านจิตใจอยู่ในระดับดี 3)  ด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และ 4) ด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-02