การศึกษาความเครียด และภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด และอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 จำนวน 80 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ภาระของผู้ดูแล มีค่า IOC เท่ากับ 0.67 – 1.00 ความเที่ยง เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.25 มีอายุเฉลี่ย 53.79 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 71.25 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 36.25 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72.50 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ร้อยละ 96.25 มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 46.25 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 46.25 และมีผู้ดูแล ระดับความเครียดปานกลาง ร้อยละ 40 ระดับความเครียดสูง ร้อยละ 13.75 ภาวะพึ่งพิงปานกลาง ร้อยละ 31.25 ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่เป็นคู่สามีภรรยา มีรายได้ต่ำ และมีสุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผู้ดูแล ดังนั้นผู้ให้บริการสุขภาพควรวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล รวมถึงการสร้างโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดภาระของผู้ดูแล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.