การศึกษาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
คุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน, การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มารับบริการช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 – 30 เมษายน 2561 จำนวน 424 ฉบับ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวของ 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกในบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติความถี่ ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเพศชาย (51.90%) อายุต่ำสุด 3 เดือน อายุสูงสุด 88 ปี สิทธิ์การรักษาบัตรทอง (63.70%) ญาตินำส่งโรงพยาบาล (47.60%) การประเมินคุณภาพการคัดแยกพบว่ามีการแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินต่ำกว่าเกณฑ์ ( under triage) มากที่สุด ช่วงระยะ เวลา 08.31น-16.30น (64%) ช่วงระยะเวลาที่มีการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินสูงกว่าเกณฑ์(over triage) มากที่สุดคือ ช่วงเวลา 08.31น-16.30น (44.60%) บทบาทการคัดแยกผู้ป่วยพบว่าพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกเป็นผู้ทำหน้าที่คัดแยกเบื้องต้น ส่วนนอกเวลาราชการจะเป็นพยาบาลแผนกฉุกเฉินทำหน้าที่คัดแยกแบ่งผู้ป่วย ผลของการคัดแยกผู้ป่วยพบว่าช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือหรือได้รับการ รักษาได้อย่างเหมาะสม ตรงตามประเภทความรุนแรง ปัญหาอุปสรรคพบว่ามีความขาดแคลนบุคลากร ขาดความรู้ ทักษะในการคัดแยก ระบบคัดแยกภายในโรงพยาบาลมีความแตกต่างกัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.