ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนคร
คำสำคัญ:
ทัศนคติ พฤติกรรม การบริโภคอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนคร มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติการบริโภคอาหารของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนคร2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนครและ3)ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติการบริโภคอาหารกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนครประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20–60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลสกลนคร ขนาดตัวอย่างจำนวน239คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ทัศนคติการบริโภคอาหารของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับดี (x̄=2.86,SD=0.66)
โดยมีทัศนคติดีมากที่สุดในเรื่องการรับประทานอาหารรสหวานจะทำให้อ้วนคิดเป็นร้อยละ43.5 รองลงมาคือการดื่มน้ำผลไม้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ17.2
- พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรโรงพยาบาลสกลนครโดยรวมอยู่ในระดับดี(x̄=3.01, SD=0.70
โดยมีพฤติกรรมที่ไม่เคยปฏิบัติเลยมากที่สุดคือ ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง คิดร้อยละ75.3 รองลงมาดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ64.4 สำหรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปฏิบัติเป็นประจำมากที่สุดคือ ดื่มชา กาแฟ คิดเป็นร้อยละ39.7 รองลงมาดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ ๘ แก้ว คิดเป็นร้อยละ36.0
- การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติการบริโภคอาหารกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรพบว่าทัศนคติการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.52) กล่าวคือหากมีค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติการบริโภคอาหารในระดับดีจะมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับดีด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.