การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยประยุกต์กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้ระยะเวลาในการศึกษา มกราคม 2562- ตุลาคม 2562 ดำเนินการเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะประเมินสถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ ระยะนี้ถือเป็นการปฏิบัติการจำนวน 3 รอบปฏิบัติการ และ 3) ระยะประเมินผล ผู้ร่วมศึกษาประกอบด้วย 1) สมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สมัครใจร่วมเรียนรู้ จำนวน 30 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 15 แห่งๆละ 1 คน จำนวน 15 คน 3) พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สต. จำนวน 15 คน 4) ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลหนองหาน จำนวน 3 คน และ 5) ทีมสหวิชาชีพประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์แผนไทย จำนวน 5 คน ผู้ศึกษาทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการเสวนาและประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และให้ผู้ร่วมศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ทุกกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มติดบ้านติดเตียง ทั้งหมดจำนวน 39 คน เป็นเพศชาย 23 คน (ร้อยละ 58.97) และเพศหญิง 16 คน (ร้อยละ 41.03) ได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) อยู่ในระยะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ 17 คน (ร้อยละ 43.60) ระยะพึ่งพารุนแรง 17 คน (ร้อยละ 43.60) และได้รับการประเมินความสามารถในการสูญเสียกิจวัตรประจำวันมากที่สุด 32 คน (ร้อยละ 82.05) การประเมินความสามารถในการสูญเสียกิจวัตรประจำวันมาก 7 คน (ร้อยละ 17.95)
รูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในเขตโรงพยาบาลหนองหาน มีการทดลองใช้ ประยุกต์แนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสะท้อนคิด และสามารถพัฒนารูปแบบได้ดังนี้ 1) มีรูปแบบที่ชัดเจน และมีความตระหนักร่วมกัน 2) มีกติกาสำหรับการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย 3) สามารถแก้ไขปัญหาและดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างครอบคลุม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.