การพัฒนาระบบการประเมินและการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด, การระงับความรู้สึกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ 1) วิสัญญีพยาบาล จำนวน 5 คนและพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยในจำนวน 5 คน 2) ผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 55 คนที่จะได้รับการผ่าต้ดโดยการดมยาสลบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. แบบประเมินผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึก 2. แบบบันทึกอุบัติการณ์การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด 3. แบบประเมินความวิตกกังวลของผู้ป่วย 4. แบบประเมินความพึงพอใจผู้ป่วยต่อการเตรียมความพร้อมก่อนให้การระงับความรู้สึก 5. แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับพยาบาลในหอผู้ป่วยและพยาบาลวิสัญญีต่อการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึก และ 6. แบบบันทึกการสะท้อนคิด แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่า IOC เท่า0.60-1.00, Cronbachs Alpha Coefficient เท่ากับ 0.90 การวิจัยดำเนินการตามขั้นตอน คือ การวางแผนพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ การสังเกตผล และ การสะท้อนผล
ผลการวิจัย: ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด พบว่า 1) วิสัญญีพยาบาลมีทักษะการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึกเพิ่มมากขึ้น 2) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดอยู่ในระดับสูง 3) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดอยู่ในระดับสูง 4) ไม่พบอุบัติการณ์การเลื่อนผ่าตัด และ ความวิตกกังวลผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกอยู่ในปานกลาง
สรุป: การนำรูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด มีผลลัพธ์ที่ดี สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะทางคลินิกต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.