ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดโรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ปู่วัง โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ภาวะโลหิตจาง หญิงตั้งครรภ์ ความชุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในมารดาที่มาคลอด  วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาย้อนหลังในมารดาที่มาคลอดโรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562   กลุ่มศึกษาคือมารดาที่มีภาวะโลหิตจางเมื่อคลอด (ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า 33 %) จำนวน 712 คน กลุ่มควบคุมคือมารดาที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง (ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง 33 % ขึ้นไป) จำนวน 1,590 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบบันทึกการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะกลุ่มตัวอย่างและศึกษาความชุก และใช้สถิติ Chi square test เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโลหิตจางกับปัจจัยต่างๆ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ P< 0.05

ผลการศึกษา: พบว่ามารดาที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลหนองคาย มีความชุกของภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 30.90  ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงเลือด (Mean) ทั้งหมดร้อยละ 35.062 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 3.605  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ  มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี (p=0.009) ฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป (p<0.001) ฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้ง (p<0.001) ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ 23 กก./ม.2 ขึ้นไป (p<0.001) มีภาวะโลหิตจางเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก (p=0.001) เคยคลอดบุตร (p=0.038) ผ่าตัดคลอด (p<0.001) ดัชนีมวลกายก่อนคลอดน้อยกว่า 23 กก./ม.2 (p=0.001) มีภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์ (p=0.003)  และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (p=0.010)

สรุป: ข้อมูลด้านจากการศึกษาจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานในระดับนโยบายและหน่วยบริการในพื้นที่นำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการให้บริการหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ตรงกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในด้านการเฝ้าระวังความเสี่ยง แก้ไขภาวะโลหิตจางเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทารกและมารดาเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดและหลังคลอด ต่อไป

คำสำคัญ: ภาวะโลหิตจาง มารดา ความชุก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29