การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในคลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ วิศิษฎ์ชัยนนท์ โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, เอชไอวี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาสถานการณ์การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2)การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากลูกและ3)ศึกษาผลของรูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากลูกในคลินิกยาต้านไวรัสโรงพยาบาลหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นสตรีที่มารับบริการคลินิกยาต้านไวรัสโรงพยาบาลหนองคายจำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และสื่อการสอนภาพพลิกเรื่องมะเร็งปากมดลูก ตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้ค่าความตรงทางเนื้อหา 0.80 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลผู้มารับบริการคลินิกยาต้านไวรัส แบบสัมภาษณ์ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0แบบวัดความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่าได้เท่ากับ 0.84 แบบประเมินทัศนคติต่อการตรวจมะเร็งปากมดลูก ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่าได้เท่ากับ 0.79 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการคลินิกยาต้านไวรัส

ผลการศึกษา พบว่า ผู้รับบริการคลินิกยาต้านไวรัสเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 76.3 พบผลผิดปกติร้อยละ 3.2 ด้านทัศนคติต่อการรับบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลางร้อยละ 48.2 ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกก่อนและหลังพัฒนารูปแบบการดูแลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการให้บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคือ การบริการมีหลายขั้นตอน ต้องมารับบริการหลายครั้ง และผู้รับบริการไม่สะดวกมาฟังผลตรวจด้วยตนเอง และด้านความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 87.4 (S.D.= 4.6)

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29