ผลการพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กชักจากไข้สูงโดยใช้โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • วิไลยวัลน์ พนาลิกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กชักจากไข้สูง , โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง (Experimental Quasi pre-post one group Research )มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กชักจากไข้สูงโดยใช้โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กจำนวน 30ราย และผู้ป่วยเด็กไข้สูงจำนวน 30 รายที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภูระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2563 เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูงประกอบด้วยแผนการสอนรายบุคคลการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง,แผ่นพับความรู้ชักจากไข้สูงและคลิปวิดิโอการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง แบบเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง,แบบประเมินทักษะของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไข้สูง,แบบบันทึกอุณหภูมิและอัตราการเต้นหัวใจผู้ป่วยเด็ก  วิเคราะห์ด้วยสถิติจำนวนร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานExtract probability test,  และสมการถดถอยพหุคูณ แบบmultivariable multi-level mixed-effect linear regression  ผลการศึกษาพบว่าหลังใช้โปรแกรมค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ตอบถูกต้องเพิ่มขึ้นทุกข้ออย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p=<0.001) และทักษะในการดูแลผู้ป่วยเด็กสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องทุกข้อ เมื่อปรับอิทธิพลของอุณหภูมิกายก่อนเช็ดตัวลำดับครั้งของไข้ตั้งแต่รับการรักษาไว้ในโรงพยาบาลและการได้รับยาลดไข้พบว่าหลังใช้โปรแกรมอุณหภูมิกายหลังเช็ดตัวลดลงเฉลี่ยคนละ 1.30 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถลดอุณภูมิได้มากกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.011) แต่ไม่พบความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจ และไม่พบอุบัติการณ์ชักซ้ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29