การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ลัดดา​ จามพัฒน์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแล พยาบาลผู้จัดการรายกรณี การติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย โดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี    กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลผู้จัดการรายกรณี จำนวน 7 คน      พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 108 คน และผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 100 คน   เครื่องมือวิจัยได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาล และแนวปฏิบัติของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบวัดความรู้  แบบสอบถามความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา

 ผลลัพธ์หลังจากการพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต ≥65 มิลลิเมตรปรอท หลังรับไว้ดูแลในชั่วโมงที่ 1 ร้อยละ 92  มีจำนวนวันนอนลดลง การได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง หลังการวินิจฉัยโรค พบร้อยละ 90 มีการประเมิน SOS score ผู้ป่วยแรกรับทุกราย และซ้ำทุก 2 ช.ม.ร้อยละ 80    พยาบาลวิชาชีพมีความรู้เรื่องการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังพัฒนารูปแบบระดับสูงร้อยละ 85.19  ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05)  ดังนั้นผลจากการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาลเพื่อก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วยต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31