สถานการณ์ใส่ท่อช่วยหายใจและภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Nichapa Tangman โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

คำสำคัญ:

การใส่ท่อช่วยหาย,ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก, ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจและภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่มาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายร่วมกับการใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายร่วมกับการใส่ท่อช่วยหายใจที่โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ในช่วง 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2562 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ใบบันทึกการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยด้านวิสัญญีก่อนระงับความรู้สึก, ใบบันทึกระหว่างระงับความรู้สึก และใบตรวจเยี่ยมผู้ป่วยหลังระงับความรู้สึก ในผู้ป่วย 313 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ,ค่ามัธยฐาน,ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าต่ำสุดสูงสุด  ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก 41 ราย (13.09%) เป็นผู้ป่วยที่คาดการณ์ล่วงหน้า 17ราย (5.43%) และคาดไม่ถึง 24 ราย (7.67%)  จำนวนครั้งของการใส่ท่อช่วยหายใจมากขึ้นตามระดับการประเมินทางเดินหายใจแบบ Mallampati classification ใน Class ที่เพิ่มขึ้น ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใส่ท่อช่วยหายใจไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่พบ เช่น ฟันหัก ฟันหลุด  เจ็บคอ และเสียงแหบ

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30