การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด แบบมีส่วนร่วม ของโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนลุ่มน้ำปาว จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ พันธศรี ห้องคลอด โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด ,หลักฐานเชิงประจักษ์

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอดแบบมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนลุ่มน้ำปาว จังหวัดอุดรธานี ระหว่าง 1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้คลอดในโรงพยาบาลกุมภวาปี  20 คน  โรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนลุ่มน้ำปาว 45 คน  พยาบาลวิชาชีพที่ห้องคลอดโรงพยาบาลกุมภวาปี  10 คน และโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนลุ่มน้ำปาว  14 คน ใช้รูปแบบและขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาล ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของIOWA Model เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1.แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2.แบบประเมินแนวปฏิบัติการพยาบาล 3.แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติ 4.แบบทดสอบวัดความรู้ของพยาบาล ตรวจสอบดัชนีความตรงของเนื้อหา ได้ค่า CVI 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง และได้ทุกขั้นตอน ร้อยละ100 2)ไม่พบภาวะแทรกซ้อนทั้งมารดาและทารกหลังคลอด 3) มีความคิดเห็นต่อการใช้แนวปฏิบัติ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ 1)สามารถให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาได้ทันที(X = 4.87, SD = 0.34), 2) สามารถนำไปใช้ได้จริง(X = 4.84 , SD = 0.36) 3) นำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการพยาบาลได้รวดเร็ว (X = 4.82, SD =0.38)

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23