การพัฒนาแนวปฏิบัติทางพยาบาลในการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุช่องทางเร่งด่วน (Trauma Fast Track) งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนา แนวปฏิบัติทางพยาบาล ผู้ป่วยอุบัติเหตุช่องทางด่วนบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางพยาบาลในการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุช่องทางเร่งด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ใช้แนวปฏิบัติทางพยาบาลคือ พยาบาลวิชาชีพและเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน จำนวน 28 คน กลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉินที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลบ้านผือ ก่อนพัฒนาจำนวน 28 คน หลังพัฒนา จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวปฏิบัติทางพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ แบบสอบถามพยาบาล และแบบบันทึกผลลัพธ์งานบริการผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired samples T-Test ผลการศึกษาพบว่า หลังพัฒนามีผลลัพธ์งานบริการผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบแตกต่างกับก่อนพัฒนา มากที่สุด คือ มีการระบุระดับ Life threatening condition เพิ่มขึ้น ร้อยละ 73.7 การระบุระดับ Emergency เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 และอัตราการระบุระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บไม่ถูกต้องลดลง ร้อยละ 21.4 หลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉินมีผลต่อผลลัพธ์งานบริการทำให้การระบุระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บมีความถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ <0.05
สรุปได้ว่า หลังพัฒนาการพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉินมีคุณภาพมาตรฐาน และหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉินมีผลต่อผลลัพธ์งานบริการทำให้การระบุระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.