การพัฒนาแนวทางการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รัชนี เบิกบาน

คำสำคัญ:

การดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ภาวะทุพโภชนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดำเนินการเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะประเมินสถานการณ์ 2) ระยะพัฒนาแนวทาง จำนวน 3 รอบปฏิบัติการ และ 3) ระยะประเมินผล  ผู้ร่วมศึกษาประกอบด้วย 1) ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการทั้งหมด  จำนวน 37 คน 2) ครูศูนย์เด็กเล็ก จำนวน 5 คน    3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเสวนาและประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และให้ผู้ร่วมศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ทุกกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า

ด้านความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของผู้จัดเตรียมอาหารในครอบครัว ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารใน ระดับปานกลาง (x̄ = 12.50,   SD= 2.357)  ด้านเจตคติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของผู้จัดเตรียมอาหารในครอบครัว พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีเจตคติในระดับดี (x̄ = 3.12  S.D. = 0.570)  และด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดอาหาร พบว่า ส่วนใหญ่ ผู้ปกครองมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดอาหารระดับที่ดี (x̄ = 3.58  S.D. = 0.283)

ทางการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี มีการทดลองใช้ประยุกต์แนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสะท้อนคิด และสามารถพัฒนารูปแบบได้ดังนี้ 1) มีรูปแบบที่ชัดเจน และมีความตระหนักร่วมกัน  2) มีกติกาสำหรับการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย 3) สามารถแก้ไขปัญหาและดูแลเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้อย่างครอบคลุม

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31