ผลของการใช้กระบวนการหลักของการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยพยาบาลวิชาชีพห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ โชติศิริคุณวัฒน์ -

คำสำคัญ:

การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และ 2) เปรียบเทียบผลของการใช้เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินโดยพยาบาลห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพห้องฉุกเฉิน 32 คน และ 2) เวชระเบียนผู้ป่วยที่รับบริการที่ห้องฉุกเฉิน 700 ฉบับ  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดความรู้และทักษะด้านการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน มีผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.96 และความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้และทักษะ เท่ากับ 0.98 และ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลของการใช้เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย Paired samples test

ผลการศึกษา พบว่าผลของการปฏิบัติตามกระบวนการหลักของการคัดแยกผู้ป่วย 1) ด้านผู้ป่วย ก่อนและหลังการใช้กระบวนการหลักของการคัดแยกผู้ป่วยมีค่าร้อยละ Under Triage ไม่แตกต่างกัน, มีค่าร้อยละ Over Triage ดีขึ้น 2) ค่าเฉลี่ยระยะเวลารอคอยแพทย์ อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดทุกระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2) ด้านเจ้าหน้าที่ พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทักษะหลังการใช้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) (2) การปฏิบัติตามกระบวนการหลักของการคัดแยกผู้ป่วยหลังการใช้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28 — Updated on 2022-04-28

Versions