ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการจัดการความเครียดแบบรายบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลสร้างคอมและโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รับบุญ ค้าไกล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการจัดการความเครียดแบบรายบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเครียด (ST5) แบบประเมินการเผชิญปัญหา มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 2) เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการจัดการความเครียดแบบรายบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบด้วยวิธี Paired-sample t-test  

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการจัดการความเครียดแบบรายบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในผู้ป่วยโควิด-19 มีคะแนนความเครียดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ก่อนร่วม=9.53, S.D.=2.55; หลัง 1.33, S.D.=1.25) และมีคะแนนการเผชิญปัญหา เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ก่อน=40.40, S.D.=4.94; หลัง =57.80, S.D.=6.15) ผลการศึกษาสรุปได้ว่าโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อการจัดการความเครียดแบบรายบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31