การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ชลการ ทรงศรี -

คำสำคัญ:

ความเครียด, ระดับของความเครียด, การเผชิญความเครียด

บทคัดย่อ

 งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาใน       การฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี  จำนวน 94 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบวัดความเครียดกรมสุขภาพจิต 2) แบบสอบถามการเผชิญความเครียด Jalowiec Coping Scale และ 3) ความเครียดและเผชิญความเครียดแบบปลายเปิด ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความเครียดกรมสุขภาพจิต มีค่าเท่ากับ 0.83 ,แบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญความเครียด 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ระดับสูงร้อยละ 55.3 มีความเครียดปานกลาง ร้อยละ 29.8 มีความเครียดรุนแรงร้อยละ 11.7 และมีความเครียดน้อย ร้อยละ 3.2 ความเครียดมากที่สุดเกี่ยวกับการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ร้อยละ 56.4  ( = 2.82, S.D.=0.62) ด้านที่ไม่มีความเครียดคือสัมพันธภาพภาพกับสมาชิกในทีมในการขึ้นฝึกปฏิบัติร้อยละ 39.4  ( = 1.97, S.D.=0.58)  การเผชิญความเครียดของกลุ่มตัวอย่างใช้การมุ่งแก้ปัญหามากที่สุด ร้อยละ 66.00 ( = 3.30, S.D.=0.93)  และที่ใช้น้อยที่สุดคือการจัดการกับอารมณ์ ร้อยละ 49.20 ( = 2.46, S.D.=0.06)  กลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โดย ปรึกษาอาจารย์ประจำกลุ่มและการทำกิจกรรม

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30