การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลถึงบ้านของผู้ป่วย
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลต่อจากโรงพยาบาลระยองถึงบ้านผู้ป่วย โดยใช้แนวคิควงจร PAOR ต่อเนื่องกันระหว่างปี พ.ศ. 2562-2565 ปี เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 20 คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีผู้ดูแล จำนวน 174 คน ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ใช้สถิติเชิงพรรณนา Pair t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ระบบการดูแลที่พัฒนาแล้วเมื่อนำมาปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องและผ่านตัวชี้วัดของสถานบริการ ค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการฟื้นฟูตนเองของผู้ป่วยที่บ้าน การสนับสนุนจากเครือข่าย และความพึงพอใจต่อทีมเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p value <0.05) ส่วนทัศนคติไม่มีการเปลี่ยนแปลง สรุปได้ว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองช่วยให้ผู้รับบริการมีพฤติกรรมการฟื้นฟูตนเองที่บ้านดีขึ้น มีการสนับสนุนจากเครือข่ายและมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น โดยยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลถึงบ้านและดูแลร่วมกับเครือข่ายสหวิชาชีพอีกต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลและฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.