ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
นวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์, พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย และประเมินความพึงพอใจของการใช้นวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) สุ่มอย่างง่าย และแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คู่ ด้วยวิธีการจับคู่ เครื่องมือวิจัยคือนวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์ คู่มือการใช้นวัตกรรม แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 และมีค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที Independent t-test และไคสแควร์ (Chi-square test) ในการทดสอบความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคล
ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้นวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับมาก (=4.30, SD=.21)
บุคลากรทางด้านสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนควรนำนวัตกรรมกล่องมหัศจรรย์ไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กในการเรียน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.