การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • มณฑาทิพย์ ยังมี -
  • วัชราวรรณ จันทร์แก้ว
  • จิราภรณ์ เหมลา
  • ศิราณี อิ่มน้ำขาว

คำสำคัญ:

Newborn, Development Practice Guideline, Neonatal Jaundice

บทคัดย่อ

ภาวะตัวเหลืองพบบ่อยในทารกแรกเกิด ต้องประเมินและรักษาให้รวดเร็ว การวิจัยเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลือง และศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดและมารดาหลังคลอดที่โรงพยาบาลยโสธร จำนวน 240 ราย และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 8 คน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2564  การพัฒนาแนวปฏิบัติยึด IOWA Model ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่าการประเมินและช่วยเหลือล่าช้า ทารกได้นมไม่พอเกิดภาวะตัวเหลืองเพิ่มขึ้น 2)การพัฒนาแนวปฏิบัติตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (R1D1) ประเมินภาวะตัวเหลืองได้เร็วแต่ขั้นตอนการปฺฏิบัติยุ่งยาก จึงได้พัฒนาแนวปฏิบัติ (R2D2) ประกอบด้วย 3 ประเด็น 1.การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดตัวเหลือง    2.การแบ่งระดับกลุ่มเสี่ยงอย่างเป็นระบบ 3.การดูแลกลุ่มเสี่ยงแต่ละระดับ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลือง แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ คู่มือให้สุขศึกษา

ผลวิจัยพบว่า มีทารกตัวเหลืองลดลงใน มารดาตั้งครรภ์แรก  การคลอดโดยวิธีผ่าคลอด ระดับการไหลของน้ำนมมารดา<ระดับ3  น้ำหนักทารกลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ค่าบิลิรูบินเฉลี่ย 14.3mg/dl และการปฏิบัติตามแนวทาง ร้อยละ88.0 ดังนั้นแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประเมินภาวะตัวเหลืองได้ถูกต้องและรวดเร็ว ทารกที่ต้องส่องไฟลดลง มารดามีน้ำนมเพียงพอ เหมาะสำหรับนำแนวปฏิบัติไปใช้ในหน่วยงานที่ดูแลทารกแรกเกิด

คำสำคัญ :  ทารกแรกเกิด พัฒนาแนวปฏิบัติ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30