การพัฒนาแนวทางการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงจากโรงพยาบาลถึงบ้านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

ผู้แต่ง

  • ติ๋ว เถื่อนแก้ว โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • ขนิษฐา แก้วกัลยา โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • ชลการ ทรงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่มีภาวะการวิจัยมีสองระยะระยะพัฒนาผู้ร่วมวิจัยคือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแล 10 คนบุคลากรด้านสุขภาพ 17 คนอาสาสมัครสาธารณสุข3  คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการดูแลต่อเนื่องผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลต่อเนื่อง จำนวน 25 คน เครื่องมือเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแอลฟ่าครอนบาค 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงจากโรงพยาบาลถึงบ้านประกอบด้วย 1) การประเมินความต้องการผู้ป่วยและผู้ดูแลโดยใช้กรอบ DMETHOD 2) บันทึกข้อมูลในHome care program 3) ประเมินความพร้อมผู้ป่วยและผู้ดูแล 4) เตรียมความรู้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น 5) ประสานทีมสหวิชาชีพฝึกทักษะการดูแลตามความจำเป็น6) วางแผนการดูแลต่อเนื่อง7) บันทึกข้อมูลในโปรแกรม Smart COC 8) ติดตามข้อมูลการดูแลต่อเนื่องที่บ้านจากโปรแกรม Smart COC 9) สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลการดูแลต่อเนื่องตามเป้าหมายผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ10) รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการดูแลต่อเนื่องมีความเหมาะสมมากที่สุดค่าเฉลี่ย 4.79 (0.22) แนวทางสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานมีค่าเฉลี่ย 4.88 (0.50)

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30