คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลห้วยสามพาด อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, โควิด-2019บทคัดย่อ
การวิจัยแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำแนกตามเพศ อายุ โรคประจำตัว สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ สถานะการอยู่อาศัย และการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 160 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ความแตกต่างจำแนกรายตัวแปร ด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ t-test, One-way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่าการปฏิบัติตน ความร่วมมือ และการสนับสนุนของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=2.42, S.D.=.277) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การเข้าถึงสิทธิการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ระดับมาก (=2.82, S.D.=.447) การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ระดับมาก (=2.72, S.D.=.431) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ระดับมาก (=2.64, S.D.=.597) การได้รับข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ระดับมาก (=2.64, S.D.=.586) วิเคราะห์รายตัวแปร พบว่า อายุ โรคประจำตัว การศึกษา รายได้ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมที่ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ รพ.สต. และกลุ่มทางสังคมในชุมชนควรมีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจและรูปแบบการส่งเสริมอาชีพ การสร้างรายได้ ในกลุ่มผู้สูงอายุส่งเสริมสวัสดิการและดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. การดูแลผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/ th/know
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. รายงานสถานการณ์โควิด-19 เขตสุขภาพที่ 8. อุดรธานี: สำนักงาน; 2564.
สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. ผลกระทบของโควิด-19 ต่อผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2564. เข้าถึงได้
จาก https://www.tdri.or.th/page
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสูง. รายงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีนโควิด-19. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2564.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาล; 2563.
รุ่งนภา เอี่ยมศรี. สิทธิของผู้ต้องหากับการช่วยเหลือทางกฎหมาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2558.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงจาก: http://www.agingthai.dms.go.th/agingthai/public
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2565. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุข;2565.
สุวัติ มหัตนิรันดร์กุล และคนอื่นๆ. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (ฉบับภาษาไทย) (WHOQOL-BREF-THAI). [ม.ป.ท.]: กรมสุขภาพจิต; 2545.
สุวัติ มหัตนิรันดร์กุล และคนอื่นๆ. แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (ฉบับภาษาไทย) (WHOQOL-BREF-THAI). [ม.ป.ท.]: กรมสุขภาพจิต; 2545.
สุรีย์วรรณ สีลาดเลา และคนอื่นๆ. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที่ จังหวัดสมุทรสงคราม. ว. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564;14:298-309.
อิทธิพล ดวงจินดา และคนอื่นๆ. การรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี. ว. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564;14:111-26.
จุฑาทิพย์ ชนชนะกุล และคนอื่นๆ. ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขต ต.ท่ากกแดง อ.เซกา จ.บึงกาฬ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19. ว. ร้อยแก่นสารอะคาเดมี่ 2565;7:452-67.
ฮิชาม อาแว และคนอื่นๆ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยท่ามกลางสถานการณ์การ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดนราธิวาส. ว. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2565;9:98-108.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.