ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ไพรจิตร ศิริมงคล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • ไพจิต ผาตะเนตร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

Behaviors in prevention of COVID-19, Factors associated

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ และปัจจัยความต้องการการสนับสนุนบริการด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม จำนวน 4 ชุด ผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ เท่ากับ 0.86 แบบสอบถามปัจจัยความต้องการสนับสนุนบริการด้านสุขภาพเท่ากับ 0.78 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์โดยใช้สถิตพรรณา และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  

            ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.76 (=2.76, S.D.=0.09) ปัจจัยความต้องการการสนับสนุนบริการด้านสุขภาพ อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.65 (=2.65, S.D.=0.29) และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.82 (=2.82, S.D. =0.09) สำหรับปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ (r=0.10, p<0.05) ส่วนปัจจัยความต้องการการสนับสนุนบริการด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ

References

ธีระ วรธนารัตน์. โคโรน่าไวรัส 2019 (covid-19): ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง?. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://www.isranews.org/isranews-article/85871-covid.html

World Health Organization. Coronavirus disease 2019 (covid-19) situation report-35.2020a. Retrived 2021,01-23 from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องชื่อและอาการสาคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563. ราชกิจจานุเบกษา. 177 (พิเศษ 48 ง). หน้า 1.

ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ฉบับที่ 731 วันที่ 7 มกราคม 2565. ศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉินกรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ10 มกราคม 2565 https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation_more.php)

มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย. เจาะลึกระบบสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565.จาก https://www.hfocus.org/

คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ แนวโน้ม ผลกระทบและการเตรียมรับมือการระบาดรอบที่สองของ COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(4): 765-8.

อิทธิพล ดวงจินดา, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, จันทร์จิรา อินจีน และปารวีร์ มั่นฟัก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในบริบทพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2562; 35(3): 60-73.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมปกรณ์, สุนีย์ ละกำปั่น และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2561.

Bandura, A. Self-efficacy: Theexercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997.

Chatterjee, P., Nagi, N., Agarwal, A., Das, B., Banerjee, S., Sarkar, S., et al. The 2019novel coronavirus disease (COVID-19) pandemic: Areview of the current evidence. Indian Journal of Medical Research. 2020; 151: 147-159.

วิจิตรา ดวงขยาย, และเทียนทอง ต๊ะแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกกับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบล สบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. วารสารบทคัดย่อกลุ่มงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2557; 431-440.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J. & Becker, M. H. Social Learning Theory, and the Health Belief Model. Health Education Quarterly 1988; 15(2): 175-183.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30