การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ในโรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • พงศ์ลดา รักษาขันธ์ โรงพยาบาลสกลนคร
  • ณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์ โรงพยาบาลสกลนคร
  • กมลวัลย์ พรหมอุดม โรงพยาบาลสกลนคร
  • บุญมี มีประเสริฐ โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการพยาบาล, เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และผลลัพธ์รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลสกลนคร ตั้งแต่ตุลาคม 2561 ถึงกันยายน 2563 กลุ่มตัวอย่าง  3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ทีมวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบ 30 คน 2) พยาบาล 955 คน 3) ผู้ป่วยที่รับรักษาในโรงพยาบาลช่วงที่ศึกษา เครื่องมือวิจัยมี แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แผนนิเทศ แบบสังเกตการปฏิบัติ แบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อ แบบวัดความรู้

            ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 13 กิจกรรม 1) การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาเมื่อมารับบริการ 2) แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา 3) การแยกผู้ป่วย 4) การสวมอุปกรณ์ป้องกัน 5) การทำความสะอาดมือ 6) การทำลายเชื้อ 7) การติดตามผลเชื้อดื้อยา 8) การเคลื่อนย้ายและส่งต่อ 9) การมอบหมายงาน 10) การนิเทศ 11) การสนับสนุนอุปกรณ์  12) การบันทึกทางการพยาบาล 13) การเฝ้าระวังการติดเชื้อและการแจ้งเตือน, คะแนนความรู้หลังพัฒนารูปแบบสูงกว่าก่อนพัฒนา (p< .05) สัดส่วนการปฏิบัติหลังพัฒนารูปแบบถูกต้องเพิ่มขึ้นกว่าก่อนพัฒนา (p< .05) อุบัติการณ์ติดเชื้อยาต้านจุลชีพลดลง 1.63 เป็น 1.48 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน ค่ายาปฏิชีวนะลดลง 25,095.65 บาท เป็น 17,011.20 บาท (p< .05) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลและอัตราการตายผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพไม่แตกต่างกัน

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30