ผลของการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้คำปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ณัฐชา สุไลมาน BCNYALA
  • สุพรรษา สุวรรณชาตรี คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปาลิดา สายรัตทอง พัฒนพิชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ญาดา ชีระจินต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ทดลองใช้ และประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้คำปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดในวัยรุ่น สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดของทาบา 1) การศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายของการฝึกอบรมหลังจากวิเคราะห์ความต้องการ 3) การเลือกเนื้อหาสาระ 4) การจัดรวบรวมเนื้อหา 5) การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 6) การจัดประสบการณ์ และ 7) การกำหนดการประเมินผล

ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้คำปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดในวัยรุ่นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหา จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ เครื่องมือวัดและประเมินผล โดยมีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรก่อนนำไปใช้ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และหลังการทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน พบว่า 1) ค่าคะแนนความรู้หลังผ่านหลักสูตรฝึกอบรม ( = 16.17, SD = 1.44) สูงกว่าก่อนผ่านหลักสูตรฝึกอบรม (= 9.90, SD = 1.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถหลังผ่านหลักสูตรฝึกอบรม ( = 40.36, SD = 2.35) สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม ( = 15.60, SD = 3.47) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

References

Organization WHO. Adolescent pregnancy, 2023 Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy.

รายงานตัวบ่งชี้สุขภาพ. รายงานการตั้งครรภ์วัยรุ่น, 2565 Available from: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/.

สุภรณ์ สมศรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7:1-13.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. การพัฒนาวิธีการสอนของครูโดยความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เรื่องเพศศึกษาและโรคเอดส์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศรีนครินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2557;6:89-99.

พราวดี ประทุมชาติ, อนุวัต ชัยเกียรติธรรม, กนกพร ทองสอดแสง. การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบ Walk Rally ของครูผู้สอนเพศศึกษา. มนุษยสังคมสาร. 2562;17:275-92.

พัทยา แก้วสาร, นภาเพ็ญ จันขัมมา. การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกลุ่มนักเรียนประถมปลาย. วารสารสงขลานครินทร์. 2564;41:101-10.

ชนิดาภา ขอสุขวรกุล, ชาติชาย ม่วงปฐม, จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต, สุภัทรา วันเพ็ญ. การศึกษาปัญหาและความต้องการที่จำเป็นเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสาริชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. 2565;16:171-83.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

โกมล โพธิเย็น. Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2564;19:11-28.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30