การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผนในทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • อังคนา จันคามิ โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัด มหาสารคาม
  • ศิราณี อิ่มน้ำขาว วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

บทนำ: การเลื่อนหลุดของท่อหลอดลมคอโดยไม่ได้วางแผนพบได้บ่อย มีผลกระทบต่อทารก การพัฒนาแนวปฏิบัติฯโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ จึงมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติฯเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน       ในทารกแรกเกิด

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง พยาบาลวิชาชีพ 12 คน และทารกอายุแรกเกิดถึง 30 วัน ที่ใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน คุณภาพของแนวปฏิบัติทางคลินิก (AGREE) มีค่าคะแนนร้อยละ 98.04 และค่าความเที่ยงของการสังเกต 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบอัตราการเกิดอุบัติการณ์ฯก่อนและหลังการนำแนวปฏิบัติฯไปใช้ ด้วยสถิติ Chi-Square test

          ผลการวิจัย: พบ

  1. แนวปฏิบัติฯ มี 1) แผนผังการป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุด 2) คู่มือการใช้แนวปฏิบัติฯ  3 องค์ประกอบที่ดี คือ การเริ่มต้น การเฝ้าระวัง และการสื่อสาร ร่วมกับการใช้นวัตกรรม Logan Bow, Tubing holder, ที่นอนรังนกและรังนกรองศีรษะสำเร็จรูป
  2. หลังนำแนวปฏิบัติฯไปใช้ พบอุบัติการณ์ท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดลดลงจาก ร้อยละ 15 เหลือ ร้อยละ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
  3. ความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติฯ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

          สรุปผล: แนวปฏิบัติฯนี้ช่วยให้การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดได้ดียิ่งขึ้น

          ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรสนับสนุน ติดตาม และพยาบาลควรมีส่วนร่วมในการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

References

Silva PSL da, Reis ME, Aguiar VE, Fonseca MCM. Unplanned extubation in the neonatal ICU: a systematic review, critical appraisal, and evidence-based recommendations. Respir Care. 2013 Jul;58(7):1237–45.

กฤติยาณี ปะนัตถานัง, นิลาวรรณ ฉันทะปรีดา. การศึกษาสถานการณ์การเลื่อนหลุดของท่อทางเดินหายใจโดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยเด็กทารกระยะวิกฤต. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19;9 มีนาคม 2561; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;817-827.

Roddy DJ, Spaeder MC, Pastor W, Stockwell DC, Klugman D. Unplanned Extubations in Children: Impact on Hospital Cost and Length of Stay. Pediatr Crit Care Med. 2015 Jul;16(6):572–5.

Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am. 2000 Jun;35(2):301–9.

กฤติยาณี ปะนัตถานัง, นิลาวรรณ ฉันทะปรีดา. แนวทางในการดูแลป้องกันท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยเด็กทารกระยะวิกฤต : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2564;44(3):1-15.

Craig JV, Smyth RL. The evidence-based practice manual for nurses. LondonL Churchill Livingston; 2002.

Melnyk BM, Fineout-Overholt E. Evidence-based Practice in Nursing & Healthcare: A Guide to Best Practice. Lippincott Williams & Wilkins; 2011. 530 p.

Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Principles and Methods. Lippincott Williams & Wilkins; 2004. 800 p.

อังคนา จันคามิ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

นิศานาถ ชีระพันธุ์. การพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดและได้รับการรักษาด้วยการสูดดมก๊าซไนตริกออกไซด์: กรณีศึกษา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2020;17(3):100-111.

รุจิรา ดิษฐวงศ์, เดือนเพ็ญ ทองป้อง. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดในทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยหนักเด็ก โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2559; 44(3):57-66.

ทัศนีย์ ใจภักดี, ปนิตา สมเภท, ศิมาภรณ์ พันธุมาศ. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดและลดการบาดเจ็บของผิวหนังในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารกรมการแพทย์. 2566;48(3):110-116.

กฤติยาณี ปะนัตถานัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยเด็กทารกระยะวิกฤต โดยใช้ CURN Model [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29