การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา มัฆนาโส โรงพยาบาลหนองหาน
  • นพพร จันทรเสนา โรงพยาบาลหนองหาน
  • ยุพาภรณ์ ติรไพรวงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ การเฝ้าระวัง การส่งเสริม พัฒนาการเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก

บทคัดย่อ

บทนำ: เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยสำคัญ การเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูเด็ก จะช่วยให้เด็กเติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาและประเมินผลของรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กรอบแนวคิดของเคมมิสและแมคทากกาท โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ 1) การวางแผน 2) การลงมือปฏิบัติ 3) การตรวจสอบติดตาม และ 4) การสะท้อนผล คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบหลายขั้นตอนและสุ่มอย่างง่ายเพื่อเลือกตัวแทนจาก 4 พื้นที่ของอำเภอหนองหาน รวม 97 คน ประกอบด้วย บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย เครื่องมือการวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จำนวน 5 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และ และความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.70-0.88 ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: พบว่า รูปแบบการเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 1) การกำหนดนโยบายระหว่างผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วนร่วมกัน 2) การดำเนินการแบบบูรณาการ และ 3) ระบบการติดตามเชื่อมโยงจากสถานบริการถึงชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วม ผลการประเมินรูปแบบการเฝ้าระวังฯที่พัฒนาขึ้นพบว่ากลุ่มบุคลากรฯมีความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ต่อรูปแบบฯโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.77, SD =0.25) และกลุ่มผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.69, SD =0.41)

สรุปผล: รูปแบบการเฝ้าระวังฯที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้

        ข้อเสนอแนะ: การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยควรดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกันในหลายภาคส่วนตามบริบทของพื้นที่โดยมีผู้จัดการดูแลสุขภาพเด็กเป็นผู้ประสานงาน

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565. [Internet]. 2565 {เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://hp.anamai.moph.go.th/th/annualreport/download/?did=213815&id=106989&reload=

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติประชากรทะเบียนราษฎ์ [Internet]. 2565.เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565]. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

สถานพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. รายงานความก้าวหน้าประเด็นตัวชี้วัดเด็กไทยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย. [Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://nich.anamai.moph.go.th/th/general-of-50/204371.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. [Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก

https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0005.PDF8

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ [Internet]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=4ea15a97238c68583f6d644e47506339

จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, ศิราณี อิ่มน้ำขาว, ปราณี ทาบึงการ, อรรถยาภรณ์ ทองมี, อัญรัตน์ อุทัยแสง. ภาระการดูแลของมารดาเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2565; 9(1):317-28

Jeong J, Franchett EE, Ramos de Oliveira CV, Rehmani K, Yousafzai AK. Parenting interventions to promote early child development in the first three years of life: A global systematic review and meta-analysis. PLOS Medicine. 2021; 10;18(5):1-51. https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1003602

Kemmis, S, McTaggart, R. Participatory Action Research: Communicative Action and the Public Sphere. In: Denzin, N. and Lincoln, Y., Eds., Strategies of Qualitative Inquiry, Thousand Oaks: Sage; 2007;271-330.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970; 30(3):607-10.

ปาณิศรา ยานิพันธ์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม; 2564.

ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1-3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยางอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. 2559; 11:99-109.

วิจิตร จันดาบุตร, วิทยา อยู่สุข, วิโรจน์ เชมรัมย์. การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก เทศบาลตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2561; 13(1):208-19.

มนัสมีน เจะโนะ, รอฮานิ เจะอาแซ. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี. วารสารวิทยบริการ. 2562; 30(2):80-8.

สราญจิต อินศร, ยศสยา อ่อนคำ, ฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสารคาม. 2564; 5(10):143-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30