ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: ปัจจัยส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
บทนำ:
กระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายให้ประชาชนสุขภาพดี ดังนั้นบุคคลจำเป็นต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องจึงจะนำไปสู่สุขภาพดี ซึ่งพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อช่วยเพิ่มระดับความผาสุกและบรรลุเป้าหมายในชีวิตของบุคคล ชุมชนและสังคม
วัตถุประสงค์การวิจัย:
เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ (อสม.) ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ระเบียบวิธีวิจัย:
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ อสม. ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 124 คน
ผลการวิจัย:
ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.5 อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 37.90 การศึกษาระดับประถม ร้อยละ 53.20 สถานภาพสมรส ร้อยละ 53.20 มีระยะเวลาการเป็น อสม. 11-20 ปี ร้อยละ 26.61 มีโรคประจำตัวร้อยละ 75 ปัจจัยการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง
สรุปผล:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ การศึกษา ระยะเวลาการเป็น อสม. และโรคประจำตัว ปัจจัยส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถแห่งตน
ข้อเสนอแนะ:
เปิดโอกาสให้ อสม. พูดคุยแสดงความคิดเห็นเพื่อค้นหาอุปสรรค เสริมสร้างการรับรู้ความประโยชน์ ความสามารถของตน
References
สุภาภรณ์ เวชบุล. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง;2559.
เกษแก้ว เสียงเพราะ. ทฤษฎี เทคนิค การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและการประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3 : A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007;39(2):91-175.
สำนักงานวิจัยสุขภาพชุมชน. รายงานผลการวิจัยด้านสุขภาพชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิจัยสุขภาพชุมชน; 2562.
นันทนารถ ช่วงสกุล. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพ ที่ 11. นครศรีธรรมราช : ศูนย์อนามัยที่ 11 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
รัชนี วิกล สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร ธวัชชัย วรพงศธร และ เอมอัชฌบุรานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วชิรเวชสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2560; 62(4):27-34.
ช่อผกา ผลทิพย์ และ ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร;2560
พิทยา อุทัยวรรณพร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และประชาชนวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. อุทัยธานี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี; 2562.
กลุ่มสุขภาพภาคประชาชนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ อสม. ในชุมชนต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 5. ราชบุรี : ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 5 กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
กฤศภณ เทพอินทร์และเสน่ห์ ขุนแก้ว. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565,14(1)[12 พฤศจิกายน 2567] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/252496.
นิธินันท์ เจริญบัณฑิตย์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) [วิทยานิพนธ์คณะพยาบาลศาสตร์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
กฤษดา พรหมสุวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.