ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุพิชญ์นันท์ เมืองเหลา กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี
  • สุนันทา ชิโนะฮาระ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี
  • จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

บทนำ: การให้ความรู้ที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความมั่นใจและทักษะในการจัดการภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของมารดาและคุณภาพชีวิตโดยรวม

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน จำนวน 40 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลอุดรธานี โปรแกรมพัฒนาขึ้นตามทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มและทฤษฎีการเรียนรู้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล และผลทางคลินิกได้แก่ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) โปรแกรมประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ 3 ครั้งในระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired T-test

ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นจาก 12.9 เป็น 18.4 คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นจาก 50.2 เป็น 58.3 (p<.001) ผลทางคลินิกพบว่าค่าเฉลี่ย FBS ลดลงจาก 165.3 เป็น 115.6 มก./ดล. และ HbA1C ลดลงจาก 7.7% เป็น 5.1% (p<.001)

สรุปผล: การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการมีประสิทธิผลในการพัฒนาความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ข้อเสนอแนะ: ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เป็นแนวทางมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ขยายผลไปยังสถานพยาบาลใกล้เคียง และควรทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยมีกลุ่มควบคุมเพื่อยืนยันประสิทธิผลของโปรแกรม

References

International Diabetes Federation. Diabetes Facts and Figures | International Diabetes

Federation [Internet]. 2024 [Cited 2024 Sep 9]. Available from : https://idf.org/about-diabetes/diabetes-facts-figures/

Mahmoud LE, Hasneen SH, El-Bana HM, Araby OEA. Effect of instructional package on

knowledge and attitudes among gestational diabetic women. Journal of Nursing Science Benha University 2024;5(2): 74–92.

Kim S, Kim HJ, Shin G. Self-management mobile virtual reality program for women with

gestational diabetes. International Journal of Environmental Research and Public Health 2021;18(4), 1539.

ตีรณา กฤษณสุวรรณ, จันทิมา ขนบดี และ ศรีสมร ภูมนสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร

กับความเครียดและการเผชิญความเครียดของหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์.

วารสารพยาบาลตำรวจ 2561;10(1): 71-81.

Lamadah SM, Ibrahim HA, Elgzar WT, El-Sayed HA, Sayed SH, El-Houfey A. Gestational

diabetes self-care behavior: An empowerment educational intervention based on BASNEF model. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research 2022;27(6), 538.

Huang W, Jalleh RJ, Rayner CK, Wu T. Management of gestational diabetes mellitus via

nutritional interventions: The relevance of gastric emptying. World Journal of Diabetes 2024;15(7): 1394–1397.

Kapustin R, Kopteeva E, Tiselko A, Alekseenkova E, Korenevsky A, Shelaeva E, Arzhanova

O, Kogan I. Diabetes and pregnancy study (DAPSY): a 10-year single-center cohort study of pregnancies affected by diabetes. Archives of Gynecology and Obstetrics 2023;309(6): 2643–2651.

Assaf EA, Sabbah HA, Momani A, Al-Amer R, Al-Sa’ad GA, Ababneh A. Factors influencing

gestational diabetes self-care among pregnant women in a Syrian Refugee Camp in Jordan. PloS One 2024;19(2): e0297051.

Sgayer I, Odeh M, Wolf MF, Kaiyal RS, Aiob A, Lowenstein L, Gratacos E. The impact on

pregnancy outcomes of late‐onset gestational diabetes mellitus diagnosed during the third trimester: A systematic review and meta‐analysis. International Journal of Gynaecology and Obstetrics 2023;165(3), 877–888.

Ismoilov JA, Egamberdiyeva YKK, Mahmamuradova NN, Daminov AT. Features of diabetes

mellitus during pregnancy. Educational Research in Universal Sciences 2024;3: 668–675.

Rokni S, Rezaei Z, Noghabi AD, Sajjadi M, Mohammadpour A. Evaluation of the effects of

diabetes self-management education based on 5A model on the quality of life and blood glucose of women with gestational diabetes mellitus: an experimental study in eastern Iran. Journal of Preventive Medicine and Hygiene 2022;63(3), E442–E447.

Tsironikos GI, Zakynthinos GE, Tatsioni A, Tsolaki V, Kagias I, Potamianos P, Bargiota A.

Gestational Metabolic Risk: A Narrative Review of Pregnancy-Related Complications and of the Effectiveness of Dietary, Exercise and Lifestyle Interventions during Pregnancy on Reducing Gestational Weight Gain and Preventing Gestational Diabetes Mellitus. Journal of Clinical Medicine 2024;13(12), 3462.

Yaping X, Huifen Z, Meijing Z, Huibin H, Chunhong L, Fengfeng H, Jingjing W. Effects of

Moderate-Intensity aerobic exercise on blood glucose levels and pregnancy outcomes in patients with gestational diabetes mellitus: a randomized controlled trial. Diabetes Therapy 2021;12(9), 2585–2598.

Haron Z, Sutan R, Zakaria R, Mahdy ZA. Self-care educational guide for mothers with

gestational diabetes mellitus: A systematic review on identifying self-care domains, approaches, and their effectiveness. Belitung Nursing Journal 2023;9(1), 6–16.

Ural A, Beji NK. The effect of health-promoting lifestyle education program provided to

women with gestational diabetes mellitus on maternal and neonatal health: a

randomized controlled trial. Psychology, Health & Medicine 2020;26(6), 657–670.

ศูนย์คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานสถิติ ผู้ป่วยใน พ.ศ. 2566.

อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี.

Orem DE, Renpenning KM, Taylor SG. Self- care theory in nursing: Selected Papers of

Dorothea Orem. Springer Publishing Company, 2003.

เวณุกา พรกุณา, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. ผลของโปรแกรมต่อความรู้ การควบคุมระดับน้ำตาล และการกลับมารักษา

ซ้ำของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560;32(2), 135-142.

พัชรี จันทอง. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการ ควบคุมอาหารของหญิง

ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2557;37: 51 – 9.

Hermis AH, Muhaibes FJ. Evaluating the effect of a training program on type 2 diabetic

patient’s self-care: A quasi-experimental study. Journal of Education and Health Promotion. 2024;13(1): 38.

Minhat HS, Thangarajah P, Ahmad N. Knowledge on postpartum type-2 diabetes mellitus

screening among pregnant women with gestational diabetes mellitus in Malaysia. Malaysian Family Physician : The Official Journal of the Academy of Family Physicians of Malaysia 2022;17(2), 64.

Gurmu Y, Dechasa A. Effect of patient centered diabetes self care management

education among adult diabetes patients in Ambo town, Ethiopia: An interventional study. International Journal of Africa Nursing Sciences 2023;19, 100606.

อนุศร การะเกษ และ นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีต่อ

ผลลัพธ์ที่คัดสรรในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ณ แผนก อุบัติเหตุฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;35(1), 119-127.

อารมย์ อร่ามเมือง. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง

ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัด สมุทรสงคราม. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2566;3(1), 25-36.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, จินตนา ทองเพชร, จุไรรัตน์ ดวงจันทร์ และนงณภัทร รุ่งเนย. ประสิทธิผลของ

โปรแกรม สร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. Journal of Health Science-วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566;32(2), 299-311.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30