การปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
  • อริสรา ฤทธิ์งาม
  • ชรัญญากร วิริยะ

คำสำคัญ:

การปฏิบัติบทบาท, พยาบาลวิชาชีพ, การสร้างเสริมสุขภาพ, ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบบรรยายและเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพและเปรียบเทียบการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพตามปัจจัยส่วนบุคคล และระดับการบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ จำนวน 2,104 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบกฎบัตรออตตาวา มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพตามกรอบกฎบัตรออตตาวาในภาพรวมพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านอยู่ระหว่าง 1.56-4.12 (SD = 1.38-3.34) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีมีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งในภาพรวม (t = 2.487, p < .05)  และรายด้านทุกด้าน และผู้ที่มีตำแหน่งบริหารมีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าผู้ที่มีตำแหน่งปฏิบัติการ ทั้งในภาพรวม (t = 2.165, p<.05) ด้านการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (t = 4.506, p < .001) และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (t = 2.665, p < .01) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารหรืออาจารย์พยาบาลควรพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการแสดงบทบาทตามกรอบกฏบัตรออตตาวาแก่พยาบาลที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะพยาบาลที่ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน

References

เกษร สำเภาทอง, และลภัสรดา หนุ่มคำ. (2551). การสำรวจความต้องการ ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานการส่งเสริมสุขภาพของพยาบาล. วารสารพยาบาล, 56(1-2), 67-70.
คณะกรรมการโครงการขับเคลื่อนวิชาชีพพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). โครงการขับเคลื่อนวิชาชีพการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย. นนทบุรี.
นิตย์ ทัศนิยม, และสมพนธ์ ทัศนิยม. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพ: การสร้างพลังอำนาจ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
นิสากร กรุงไกรเพชร, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, ชรัญญากร วิริยะ, และคณะ. (2560). สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพภาคตะวันออก วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 30-40.
ปิยะธิดา นาคะเกษียร. (2558). กฎบัตรออตตาวากับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 33(4), 6-14.
วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร, และณัฐา วงศ์วุฒิสาโรช. (2559). การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 54-62.
ศรีสมพร ทรวงแก้ว, & อนัญญา คูอาริยะกุล. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลสู่นักสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(2), 32-47.
ศิริพร ขัมภลิขิต, ยุวดี ฦาชา, จุฬาลักษณ์ บารมี, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์, & วงเดือน สุวรรณคีรี. (2550). การประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาโท. วารสารพยาบาลศาสตร์, 25(3), 44-45.
ศิริพร ขัมภลิขิต, ยุวดี ฦาชา, จุฬาลักษณ์ บารมี, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์, วงเดือน สุวรรณคีรี. (2551). การประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี. วารสารสภาการพยาบาล, 22(3), 85-95.
สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สุธารัตน์ ชำนาญช่าง, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2560). สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ ของพยาบาลในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เขตพื้นที่ตะวันออก วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 19-30.
อนัญญา คูอาริยะกุล, และศศิธร ชิดนาย. (2558). สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 7(1), 54-62.
Casey, D. (2007). Nurses’ perceptions, understanding and experiences of health promotion. Journal of Clinical Nursing, 16(6), 1039-1049.
Kemppainen, V., Tossavainen, K., & Turunen, H. (2012). Nurses' roles in health promotion practice: an integrative review. Health Promotion International.
World Health Organization. (1988). Adelaide recommendations on healthy public policy from http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/adelaide/en/index2.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-03-2018