การเปรียบเทียบผลระยะสั้นของเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงเพื่อรักษาเทียบกับเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำต่อระดับอาการปวดและช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้าในโรคพังผืด ใต้ฝ่าเท้าอักเสบ: การศึกษานำร่อง

ผู้แต่ง

  • อาหะมะ ดะเซ็ง
  • จิรภัทร์ รักราวี
  • จุฑามาศ จิตเจือจุน
  • พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
  • คุณาวุฒิ วรรณจักร

คำสำคัญ:

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ, เครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียง, เครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำ, เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบกึ่งทดลองสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลระยะสั้นระหว่างการรักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงกับการรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำต่อระดับอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และประสิทธิภาพการทำงานของเท้าในโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ทำการศึกษาในอาสาสมัคร 10 คน ได้รับการรักษานาน 2 สัปดาห์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือรักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงเพื่อการรักษา (5 คน) และรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำ (5 คน)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เมื่อเทียบภายในกลุ่มภายหลังได้รับการรักษานาน 2 สัปดาห์ มีอาการลดปวดฝ่าเท้า เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเท้ามากกว่าก่อนการรักษา (p<.05) ยกเว้นกลุ่มรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำที่ไม่เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวในการกระดกข้อเท้า และไม่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเท้า (p>.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ทั้งสองวิธีสามารถเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเท้าได้ไม่แตกต่างกัน (p>.05) แต่กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่รักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงที่มีอาการปวดฝ่าเท้า ลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายหลังการรักษา (p<.05) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าการรักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงเพื่อการรักษาและการรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำสามารถเป็นตัวเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เพื่อลดอาการปวด เพื่อองศาการเคลื่อนไหว และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเท้าได้ หลังจากการติดตามผล 2 สัปดาห์

References

Allen, R. H., & Gross, M. T. (2003). Toe flexors strength and passive extension range of motion of the first metatarsophalangeal joint in individuals with plantar fasciitis. The Journal of orthopaedic and sports physical therapy, 33(8), 468-478.
Aungsirikul, S., Pakdevong., N., & Binhosen V. (2016). Factors related to health promotion behaviors in patients with low back pain. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(1), 39-50. (in Thai)
Buchbinder, R. (2004). Plantar fasciitis. The New England Journal of Medicine, 350, 2159–2166.
Kaewpinthong, U., Hemtasilpa, S., & Phiphobmongkol, U. (2004). A comparison of the effects of low energy shock wave therapy and ultrasound for the treatment of plantar fasciitis. Journal of Thai Rehabilitation Medicine, 14(2), 60-71. (in Thai)
Macias, D. M., Coughlin, M. J., Zang, K., Stevens, F. R., Jastifer, J. R., & Doty, J. F. (2015). Low-level laser therapy at 635 nm for treatment of chronic plantar fasciitis: A placebo-controlled, randomized study. The Journal of Foot and Ankle Surgery, 54(5), 768-72.
Mardani-Kivi, M., Karimi Mobarakeh, M., Hassanzadeh, Z., Mirbolook, A., Asadi, K., Ettehad, H., & et al. (2015). Treatment outcomes of corticosteroid injection and extracorporeal shock wave therapy as two primary therapeutic methods for acute plantar fasciitis: A prospective randomized clinical trial. The Journal of Foot and Ankle Surgery, 54(6),1047-1052.
Martin, R. L., Davenport, T. E., Reischl, S. F., McPoil, T. G., Matheson, J. W., Wukich, D. K., McDonough, C. M. (2014). Heel pain-plantar fasciitis: Revision 2014. Journal of Orthopaedic and Sports Physical Therapy, 44(11), 1-33.
Noimontree, V., & Piphatvanitcha, N. (2015). Health risk behaviors of baccalaureate students in a public university. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 23(2), 31-40. (in Thai)
Rattanathongkom, S. (1994). Low frequency electrical stimulation handbook. Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Saban, B., Deutscher, D., & Ziv, T. (2014). Deep massage to posterior calf muscles in combination with neural mobilization exercises as a treatment for heel pain: a pilot randomized clinical trial. Manual Therapy, 19(2),102-108.
Zanon, R. G., Brasil, A. K., & Imamura, M. (2006). Continuous ultrasound for chronic plantar
fasciitis treatment. Acta Ortopédica Brasileira, 14(3), 137-140.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-05-2019