ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์โดยชุมชนเป็นฐาน
คำสำคัญ:
ศักยภาพ, ชุมชนเป็นฐาน, สร้างเสริมสุขภาพ, สตรีตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบเจาะจงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ
สตรีตั้งครรภ์ ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์รวม 150 ราย
เก็บข้อมูลใช้การสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์และคนในชุมชนมี
ศักยภาพที่จะดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้ กลุ่มองค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
ส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ของชุมชนในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลโดยเฉพาะในรายที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ตั้งครรภ์แรก หรือฐานะยากจน การให้บริการสุขภาพ
และช่วยเหลือฉุกเฉิน การจัดสภาวะแวดล้อม สนับสนุนการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการจากรัฐและชุมชน กิจกรรมในระยะ
หลังคลอดและเลี้ยงดูเด็ก ได้แก่ การพัฒนาทักษะสตรีหลังคลอด การให้บริการสุขภาพ การดูแลภาวะสุขภาพตามวิถี
วัฒนธรรมท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพ การทำงานเชื่อมประสานกันในทุกภาคส่วน
ทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานในการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ในชุมชนอย่างครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อนำใช้เป็น
แนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ
ยากลำบาก พัฒนาศักยภาพพยาบาลให้มีสมรรถนะบทบาทครอบคลุมตามยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ
References
Department of children and youth. (2016). A policy on financial support support for raising the new born. Retrieved from http://www.prachuapkhirikhan.m-society.go.th/? wpfb_dl=221. Retrieved July 29, 2018. [In Thai]
Fetterman, D.M. (1998). Ethnography: Step-by-Step (2nd ed.). California: SAGE Publications.
Guba, E.G. & Lincoln, Y.S. (1985). Naturalistic inquiry. Newbury Park, CA.: SAGE.
Lecompte, M.D., & Schensul, J.J. (1999). Analyzing and Interpreting Ethnographic Data. Canada: AltaMira Press.
Marmot, M., & Wilkinson, G.R. (2006). Social determinants of health (2nd ed.). Hampshire (UK): Ashford Colour Press.
Ministry of Public Health. (2017). Twenty-Year National Strategic Plan. Retrieved from https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-Ministry of PublicHealth.pdf. Retrieved June 29, 2018. [In Thai]
Morse, J.M. (2012). Qualitative health research creative a new discipline. California: Left Coast.
National Health Commission Office. (2009). The National Health System Constitution. Retrieved from https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/dmdocs/Tum_finalNH_resize.pdf. Retrieved June 29, 2018. [In Thai]
Nuntaboot, K. (2010). Community health system the collaborative process of 3 major systems in the community. Nonthaburi: The Graphic Go Systems. [In Thai]
Nuntaboot, K. (2013). Rapid Ethnographic Community Assessment: RECAP. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. [In Thai]
Raingruber, B. (2017). Contemporary Health Promotion in nursing practice. John & Bartlett Learning. LLC, an Ascent Learning Company.
Schreier, M. (2012). Qualitative content analysis in practice. London: Sage.
United Nations. (2019). Sustainable Development Goals. Retrieved from https://www.un.org/sustainabledevelopment/health/. Retrieved March 29, 2019.
World Health Organization. (2009). Milestones in Health promotionstatements from global conferences. Retrieved from http://www.who.int/healthpromotion/Milestones_Health_Promotion_05022010.pdf. Retrieved March 15, 2019.