ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตกำรทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภำพตำบล ภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • นิสากร กรุงไกรเพชร

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

คุณภาพชีวิตการทำงานเป็นความพึงพอใจตามความนึกคิดของผู้ทำงานที่มีต่อการทำงาน การมีส่วนร่วมในงาน
และได้รับการตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออก
กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออก จำนวน 145 คน ได้จากการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสภาพ
การทำงาน และคุณภาพชีวิตการทำงาน ประเมินค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของ
แบบวัดคุณภาพชีวิตการทำงานเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (M = 3.50,
SD = 0.56) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงาน (QOWL) ของพยาบาลวิชาชีพ คือ ภาวะ
การเจ็บป่วย (Sickness) การสนับสนุนจากหัวหน้างาน (Train) และการสนับสนุนจากชุมชน (Comsupp) สามารถ
ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานได้ร้อยละ 28.8 โดยภาวะการเจ็บป่วยมีอิทธิพลในการทำนายมากที่สุด (β = -.44)
รองลงมาคือ การสนับสนุนจากหัวหน้างาน (β = .30) และสุดท้ายคือการสนับสนุนจากชุมชน (β = -.28) ตามสมการ
ดังนี้
QOWL = 3.21 -.52 (Sickness) + .05 (Train) + .42 (Comsupp)
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบล เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานให้ดีขึ้น และเป็นแนวทางการพัฒนา
โปรแกรมการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

References

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for
the behavior sciences (2nd ed.). Hillsdale HJ:
Lawrence Erlbaum.

Domklang, N., & Ratchukul, S. (2008). The desirable
roles of head nurse, regional hospitals
in the next decade (B.E. 2551-2560).
Journal of Nursing Science Chulalongkorn
University, 20(3), 16-28. [In Thai]

Garson, D.G. (2008). Statnotes: Topics in
Multivariate Analysis. Retrieved from: http://
www2.chass.ncsu.edu/garson/pa765/
statnote.htm

Imjai, K. (2019). Quality of work life and
organizational commitment of professional
nurses in the community hospital,
Samutprakarn province. Journal of
Prachomklao College of Nursing,
Phetchaburi Province, 2(2), 30-45. [In Thai]

International Association for Public Participation.
(2012). IPA2 spectrum of public
participation. Retrieved from: http://www.
iap2.org/associations/4748/fles/IAP2%20
Spectrum_vertical.pdf

Kangsanan, K., & Klinhom, V. (2017). Quality of life
of registered nurses in community hospitals
zone 1 Nakhon Si Thammarat Province.
WMS Journal of Management Walailak
University, 6(2), 72-82. [In Thai]
Kittisuksathit S., Chamchan, C., Tangchonthip, K.,
& Holumyong C. (2013). Quality of life, work
and happiness. Retrieved from http://www.
ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/FileUpload/
PDF/Report-File-405.pdf [In Thai]

Laohawatanapinyo, W., Suriyo, P., Limpisil, K., &
Yimsrual, P. (2009). The quality of work life
of nurses at Phetchaburi Prachomklao
hospital. Surgery Intensive Care Unit,
Nursing Group, King Mongkut Memorial
Hospital, Phetchaburi Province. [In Thai]

Nantsupawat, R., Junmahasathien, S.,
Phumvitchuvate, L., Charuwatcharapaniskul,
U., Chareonsanti, J., Keitlertnapha P., &
Sunthorn, V. (2012). Development of
community health system by the people
for the people: Case study of Chisathan
District. Nursing Journal, 39(2), 144-156.
[In Thai]

National Institute for Occupational Safety and
Health. (2012). Public health service,
centers for disease control and prevention,
national institute for occupational safety
and health, Publication, 146-214. Retrieved
from:https://www.cdc.gov/niosh/docs/
2013-140/pdfs/2013-140.pdf

Ngamlamom, W. (2014). Globalization with Thai
social. Retrieved from: http://fle.siam2
web.com/trdm/article/2013318_75318.pdf
[In Thai]
Opastiragul, W., Chanprasit, C., & Kaewthummanukul,
T. (2015). Health status related to risk at
work among professional nurses, outpatient
and emergency nursing section, Maharaj
Nakorn Chiang Mai hospital. Nursing Journal,
42(2), 49-61. [In Thai]

Phutphong, N., Theerawit, T., & Sawangdee, K.
(2017). Health promotion and quality of
work life among Thai nurses. Thai nurse
cohort study project. International Health
Policy Program (IHPP), Ministry of Public
Health. [In Thai]

Promsakul, S., Puttpitukpol, S., & Sawaengdee K.
(2011). Factors Influencing Health Status of
Professional Nurses at the 17 th Public
Health Inspection Region. Retrieved from:
https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/
Masters/FullPaper/Sci/Poster/P-A5.pdf
[In Thai]

Region 6 Health Provider. (2016) Retrieved from:
https://thailand.digitaljournals.org/tdj/
index.php [In Thai]

Thatphitakkul, S. (2017). EEC Eastern Economic
Corridor. Investment Promotion Journal,
28(7), 8.

Walton, R. E. (1973). Quality of work life: What is
it? Sloan Management Review, 15, 11-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020