การประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, พยาบาลชุมชน, อำเภอจัดการสุขภาพ, เขตสุขภาพบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7 รูปแบบการวิจัยเป็นการประเมินผลโครงการตามแบบจำลองซิปโมเดล ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลผลิตจากโครงการ โดยเก็บข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงาน การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 62 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการวิจัย พบว่า (1) ด้านบริบท โครงการมีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพยาบาลชุมชนกับเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการขับเคลื่อนใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาควิชาการ ภาคการเมือง และภาคประชาชน สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการเสริมพลัง สร้างคุณค่าให้กับคนทำงาน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ (2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรสามารถดำเนินโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายและสหวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เป็นกลไกของการทำงานร่วมกัน มีการแผนงานการดำเนินงานของเครือข่าย โดยเน้นให้เครือข่ายได้มีการออกแบบกิจกรรมที่เป็นกลไกการหนุนเสริมสมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะเชิงวิชาการ เชิงวิชาชีพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสริมพลัง การสร้างสัมพันธภาพภายในทีม (3) ด้านกระบวนการ ใช้กลไกการขับเคลื่อนภายในพื้นที่ระดับอำเภอ ในการออกแบบกระบวนการพัฒนา โดยใช้บริบทพื้นที่เป็นฐาน และนำประเด็นสุขภาพที่เป็นปัญหามาเป็นเรื่องในการบริหารจัดการเป็น 1 อำเภอ 1 โครงการ รวมถึงให้ความสำคัญในการเป็นนักจัดกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่ของตนเอง (4) ด้านผลผลิตของการดำเนินงาน มีการพัฒนาด้านความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยในงานประจำ โดยมีโครงการที่ดำเนินงานในพื้นที่ 10 โครงการ มีผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จำนวน 43 เรื่อง และนวัตกรรม จำนวน 13 ผลงาน
ผลจากการประเมินสะท้อนให้เห็นว่าทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน เห็นสอดคล้องกันว่าโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7 สามารถนำไปแก้ปัญหาได้ของพื้นที่ จากข้อมูลสภาพปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่เป็นจริงและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
References
Chumnanborirak, P., & Srikaew, S. (2014). Development of Knowledge and Skills of Emergency Medical Services among Volunteer Rescuers at Wungsang Subdistrict Administration Organization, Mahasarakham Province. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 24 (3),132-142. [In Thai]
Community Nurse Association of Thailand. (2018). Report of the community nurse network development project in driving health management districts in health region 7. Maha Sarakham: Community Nurse Association of Thailand. [In Thai]
Health Region 7. (2017). Promotion and Prevention Excellence Strategic Plan 2017- 2036. Khon Kaen : Health Region 7. [In Thai]
Health Service System Development Board (CSO) Health Region 7. (2015). Summary of the health service system development, Health Region 7, Fiscal year 2015. Khon Kaen : Health Region 7. [In Thai]
Katha, P., & Chawraingern, S. (2018). Cultural epidemiology. Nonthaburi: Society and Health Institute. [In Thai]
Nanthasen, W. (2015). Evaluation of development on district health system (DHS) in MahasaraKham provincial of Public Health. Research and Development Health System Journal, 7(30), 105 - 113. [In Thai]
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2017). Thailand Regional Health Profile 2012 – 2017. Nonthaburi: Chinauksorn Printing. [In Thai]
Phattharawirinkul, T. (2017). The effectiveness of the District Health System in Khaosaming District, Trat Province. Primary Health Care Division Journal, 13(1), 3-11. [In Thai]
Phirom, K., Chuencharoensuk, K., & Phithak, J. (2017). Primary care service in Thailand after 5 years of being driven by the district health system. Buddhachinaraj Medical Journal, 34(3), 294-306. [In Thai]
Phlainoi, S. (2019). Various methods of lesson learned and synthesis of knowledge. Bangkok: PA Living Company Limited. [In Thai]
Public Health Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (2014). District Health System (DHS). Nonthaburi: Ministry of Public Health. [In Thai]
Strauss, A. & Corbin, J. (1990). Basics of Qualitative Research: Grounded Theory Procedures and Techniques. Thousand Oaks, CA: SAGE.
Stufflebeam, D.L. (1971). Education Evaluation and Decision Making. ltasca, lllinois: Peacock Publisher.