ผลของโปรแกรมการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ปกครองต่อการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้แต่ง

  • นาฎอนงค์ แฝงพงษ์
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ     

            การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ปกครองต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปากในเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่มีอายุ 21-59 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ วิดีทัศน์ คู่มือปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรค และเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-Square,  Fisher’s exact test และ Independent t-test

            ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ความรุนแรงของโรคระดับมาก (M = 4.36, SD = 0.46; M = 4.50, SD = 0.38 ตามลำดับ) การรับรู้ประโยชน์ ระดับมากที่สุด (M = 4.63, SD = 0.31) การรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับน้อยที่สุด (M = 1.42, SD = 1.34) และมีการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคเป็นประจำ (M = 2.66, SD = 0.21) กลุ่มทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรค เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.370, p < .01, t = 2.158, p < .05, t = 1.935, p < .05 และ t = 2.160, p < .05 ตามลำดับ) และมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้อุปสรรค ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -3.083, p < .02)

          ผลการศึกษานี้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บุคลากรสุขภาพ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กวัยก่อนเรียนผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

References

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control. (2017). Guidelines for the prevention and control of hand, foot, mouth disease outbreaks in the child development center. Retrieved January 25, 2018, from http//www.boe.moph.go.th// [In Thai]

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control. (2017). Epidemiological Survellance Report. Retrieved January 4, 2018, from http//www.boe.moph.go.th// [In Thai]

Bureau of Epidemiology and Department of Disease Control. (2020). Epidemiological Surveillance Report. Retrieved February 1, 2020, from http//www.boe.moph.go.th// [In Thai]

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nded.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Luby, P., & Halder, K. (2008). Associations among handwashing indicators, wealth, and
symptoms of childhood respiratory illness in urban bangladesh. Med in Health, 13(6), 835-844.

Luby, P., Huda, T., Halder, A.K., & Unicomb, L. (2011). The effect of handwashing at recommended times with water alone and with soap on child diarrhea in rural Bangladesh: an observational study. Journal PubMed, 8(6), 1037-1048.

Peansukwech, U., & Banchonhuttakit, P. (2017). Effect of health education program in childhood prevention of hand foot mouth disease by the application of health belief model and social support of caregivers and child’s parents in child care center at Muang district, khon kaen province. Srinagarind Medical Journal, 29(2),1-5. [In Thai]

Pensuk, P., & Banchonhuttakit, P. (2013). Effects of behavioral modification for hand foot mouth disease prevention among parents of pre-school children in child development center; Ban Kruat disdrict, Burirum province. Journal of Public Health, 8(1), 81-93. [In Thai]

Phuphaibul, R. (2013). Nursing care plan for healthy and ill children. Bangkok: Dharma Council Printing. [In Thai]

Polit, D.F. (1996). Data Analysis and Statistics for Nursing Research. Stamford: CT Appleton & Large.

Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 328-335.

Rabenau, H.F., Richter, M., & Doerr, H.W. (2010). Hand foot mouth disease in China: Patterns of spread and transmissibility during 2008-2009. Epidemiology, 22(6), 781-792.

Sanongyard, J., Jametim, N., Dhanawan, W., & Maungchang, Y. (2016). The effects of program over three-dimensional comic book knowledge to Infection control among parents by applying health belief patterns, social support, and epidemiological principles of child parents in child development centers Suphan Buri province. Chonburi Hospital Journal, 40(3), 217-226. [In Thai]

Ubon Ratchathani Province Office for Local Administration. (2018). Development center
information pre school-aged children in Ubon Ratchathani province. [In Thai]

Vanichanan, C., & Putthacharoen, O. (2017). Infectious diseases across the regions. Bangkok: Tri Thep Book Process. [In Thai]

World Health Organization [WHO]. (2011). A guide to clinical management and public health response for hand, foot mouth disease (HFMD) 2011. Retrieved from http://www.who.int/nmh/publications/ncd-progress-monitor-2011/en/

World Health Organization [WHO]. (2017). Communicable diseases progress monitor 2017. Retrieved from http://www.who.int/nmh/publications/ncd-progress-monitor-2017/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2020