การบ่มเพาะความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด: มุมมองของเยาวชนที่ใช้สารเสพติด

ผู้แต่ง

  • จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
  • พรชัย จูลเมตต์
  • ภาคินี เดชชัยยศ
  • มนตรี ขุนอินทร์ทอง
  • ศรวิษฐ์ บุญประชม
  • ทองสวย สีทานนธ์

คำสำคัญ:

เยาวชน, การบ่มเพาะ, ความยืดหยุ่นในชีวิต, ความตั้งใจเลิกเสพสารเสพติด, การวิเคราะห์แก่นสาระเนื้อหา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายความหมายของการบ่มเพาะของความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดตามมุมมองของเยาวชนที่ใช้สารเสพติด ผู้ให้ข้อมูลคือเยาวชนที่ใช้สารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดที่โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองและสถานบำบัดยาเสพติดเอกชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 2 ราย และการสนทนากลุ่มจำนวน 8 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนให้ความหมายความยืดหยุ่นในชีวิตว่าคือ การยอมรับกับความไม่แน่นอนของชีวิต และการสู้ปัญหากล้าเผชิญ การบ่มเพาะของความยืดหยุ่นในชีวิต เกิดจากการตระหนักถึงการสร้างชีวิต สร้างคุณค่า การยืนหยัดแก้ปัญหา และการมีความหวังและกำลังใจจากบุคคลสำคัญ เยาวชนถ่ายทอดความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับความตั้งใจในการเลิกใช้ยาเสพติดออกมาเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ 1) ติดอาวุธให้ชีวิต พร้อมพิชิตและเผชิญ 2) คิดถึงและเป็นห่วงคนในครอบครัว 3) จัดการสิ่งแวดล้อม 4) มองกลับไปในอดีตเพื่อขีดเส้นทางของอนาคต และ 5) การต่อสู้ภายใน อุปสรรคที่ต้องเผชิญ
          ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรบูรณาการมุมมองของเยาวชน มุมมองของผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลเด็กและเยาวชนกลุ่มผู้บำบัดการเสพสารเสพติดในเยาวชน และหลักการแนวคิดพื้นฐานการบำบัดแบบการยอมรับและสร้างพันธะสัญญา รวมถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาโปรแกรมการบำบัดแบบการยอมรับและสร้าพันธะสัญญาเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดในเยาวชนที่เข้าบำบัดรักษายาเสพติดต่อไป

References

Barankin T., & Khanlou, N. (2007). Growing up
resilient: Ways to build resilience in
children and youth. Journal of the
Canadian Academy of Child and
Adolescent Psychiatry, 18(4), 357.

Braun, V., & Clarke, V. (2006) Using thematic
analysis in psychology. Qualitative Research
in Psychology, 3(2), 77-101.

Dallas, J. Ch., Puapan, S., Sakulkoo, S., & Smith, B.
L. (2011). Male Thai adolescents transition
from drug dependence to being drug free.
Pacific Rim Int J Nurs, 15(4), 1-12.

Department of Juvenile Observation and
Protection, Ministry of Justice of Thailand.
(2019). The annual report on the public
performance of the state for the fiscal year
2019. Bangkok: Department of Juvenile
Observation and Protection, Ministry of
Justice of Thailand.

Department of Mental Health. (2009). 5 Things
to know about RQ. Bangkok: Bureau of
Mental Health Development, Department
of Mental Health.

Grotberg, E. H. (2003). Resilience for today: Gaining
strength from adversity. Connecticut:
Greenwood Publishing Group.

Hills, F., Meyer-Weitz, A., & Asante, K. O. (2016).
The lived experiences of street children in
Durban, South Africa: Violence, substance
use, and resilience. International Journal
of Qualitative Studies on Health and
Well-being, 11(1), 1-11.

Kaewmart, N., Dallas, J. C., Poonnotok, P.,
Dethchaiyot, P., & Bunpracha, S. (2017).
Factors affecting the intention of drug
abstinence among youth experiencing
substance abuse. Journal of Health
Science Research, 11(1):133-141. [In Thai]

Nintachan, P. (2014). Resilience: Concept,
assessment, and application. Bangkok:
Judthong.

Princess Mother National Institute on Drug Abuse
Treatment. (2020). Statistics on drug
addicts of Princess Mother National
Institute on Drug Abuse Treatment in the
fiscal year 2018-2020. Retrieved December
20, 2020, from http://www.pmnidat.go.th/
thai/index.php?option=com_content&task
=view&id=3289&Itemid=53

Sirinuan, S., Suphankul, P., NooSorn, N., &
Wongsawat, P. (2016). Factors affecting
amphetamine relapse among drug addicts
after treatment. Journal of Research in
Health Sciences, 10, 39-45. [In Thai]

Suntornvijitr, S., Hengudomsub, P., Vatanasin, D.,
& Dethchaiyot, P. (2018). Predicting factors
of depression among secondary school
students in extended educational
opportunity schools. Nursing Journal of
the Ministry of Public, 28(2), 53-66.

The United Nations Office on Drugs and Crime
[UNODC]. (2020). World drug report 2020.
Vienna, Austria: United Nations publication.

The Office of the Narcotics Control Board [ONCB].
(2019). Drug prevention and treatment
action plan 2019. Bangkok: The Office of
the Narcotics Control Board.

Weiland, B. J., Nigg, J. T., Welsh, R. C., Yau, W.-Y.
W., Zubieta, J.-K., Zucker, R. A., & Heitzeg,
M. M. (2012). Resiliency in adolescents at
high-risk for substance abuse: flexible
adaptation via subthalamic nucleus and
linkage to drinking and drug use in early
adulthood. Adulthood. Alcoholism: Clinical
and Experimental Research, 36(8), 1355-
1364. doi:10.1111/j.1530-0277.2012.01741.x

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2021