การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ อุณหภูมิกายต่ำในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอดโรงพยาบาลตติยภูมิ แห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • สุธาทิพย์ จั่นงาม
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
  • พัชราภรณ์ อารีย์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, กิจกรรมการพยาบาล, ทารกแรกเกิดที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ, หอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอดโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยรายงานต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าลงทุน และต้นทุนค่าวัสดุของบุคลากรทางการพยาบาลที่ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ และทารกแรกเกิดที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยพจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล และแบบบันทึกข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยบริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนกิจกรรมพยาบาลทารกแรกเกิดรวมเท่ากับ 42,208.52 บาท คิดเป็นร้อยละของแต่ละกิจกรรมดังนี้ ระยะแรกรับ (ร้อยละ 5.92) ระยะมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (ร้อยละ 11.72) กิจกรรมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (ร้อยละ 75.44) และการบริหารจัดการและงานสนับสนุน (ร้อยละ 6.93) โดยต้นทุนกิจกรรมต่อกิจกรรมสูงสุดคือ กิจกรรมการพยาบาลร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพมีต้นทุนต่อกิจกรรมเท่ากับ 265.34 บาท เมื่อวิเคราะห์ต้นทุน
กิจกรรมต่อรายพบว่า ต้นทุนต่อรายสูงสุดคือ กิจกรรมการพยาบาลร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ มีต้นทุนต่อรายเท่ากับ 1,061.36 บาท ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำเป็นข้อมูล
เชิงประจักษ์ที่มีความสำคัญที่ผู้บริหารควรนำไปใช้ในการบริหารจัดการเรื่องการบริหารอัตรากำลังคนและการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป

References

Faksang D. (2012). Cost management for coconut
sugar producers in Samutsongkhram.
Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat
University. [in Thai].

Gupta, K. K., Attri, J. P., Singh, A., Kaur, H., & Kaur,
G. (2016). Basic concepts for sample size
calculation: Critical step for any clinical
trials! Saudi Journal of Anesthesia, 10(3),
328-331. doi: 10.4103/1658-354X.174918

Itthichinda, S. (2013). Design and development
of a baby warmer during radiographic
imaging luoroscope. Bangkok: King
Mongkut’s University of Technology North
Bangkok. [In Thai]

Kaplan, R. S., & Cooper, R. (1998). Cost and effect:
Using integrated cost system to drive
profitability and performance. Boston:
Harvard Business school press.

National Health Security Office [NHSO]. (2007).
National health act. Bangkok: National
Health Security Office. [In Thai]

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research:
Principles method (6th ed.). Philadelphia:
J.B. Lippincott.

Punyavachira, P., & Rotjananirunkit, N. (2009).
A comparison of using polyethylene bag
and radiant warmer on body temperature
of full-term newborns. Ramathibodi
Nursing Journal, 15(3), 373-384.

Samutchang, E. (2016). Guidelines for newborn
care to prevent hypothermia. Songkhla:
Songkhla Boromarajonani College of
Nursing. [In Thai]

Singchugchai, P. (2016). Health economics for
health services (5th ed.). Songkhla:
Chanmuang. [In Thai]

Wannachad J. (2011). Neonatal body temperature
control. Journal of Phrapokklao Nursing
College, 23(1), 81-93. [in Thai]

Wirotwanit, N., Thongkhamrod, R., & Hingkanont,
P. (2014). Cost analysis of nursing service
activity in emergency department Naresuan
University Hospital. Journal of Nursing and
Health Sciences, 8(3), 252-67. [In Thai]

World Health Organization [WHO]. (1997). Safe
motherhood: Thermal protection of the
newborn: A practical guide. Geneva: World
Health Organization.

World Health Organization [WHO]. ( 2017) . WHO
recommendations on newborn health:
Guidelines approved by the WHO guidelines
review committee. Geneva: World Health
Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2021