ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์

ผู้แต่ง

  • ศิรินภา แก้วพวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรรณี เดียวอิศเรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • อารียา สมรูป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชนาภา งามฉาย พยาบาลวิชาชีพ

คำสำคัญ:

ความตั้งใจ , วิถีชีวิต , การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ , สตรีวัยเจริญพันธุ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มารับบริการจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอในภาคตะวันออก จำนวน 397 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามอิทธิพลจากสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .80, .79, 75, .85 และ .80 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 - มกราคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน

     ผลการศึกษาพบว่า อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อิทธิพลจากสังคม และการรับรู้ความสามารถของตนเอง สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้ร้อยละ 54.9 (R2= .549, p < .001) โดยปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = .642, p < .001) อิทธิพลจากสังคม (β = .106, p < .05) และการรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ (β = -.076, p < .05) ส่วน อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของสตรีก่อนตั้งครรภ์ ส่งเสริมอิทธิพลทางสังคม และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการลดอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สตรีวัยเจริญพันธุ์มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์

References

Ajzen, I. (2006). Constructing a theory of planned behavior questionnaire. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/235913732_Constructing_a_Theory_of_Planned_Behavior_Questionnaire

Amaje. E., Fikrie, A., & Utura, T. (2022). Utilization of preconception care and its associated factors among pregnant women of West Guji zone, Oromia, Ethiopia, 2021: A community-based cross-sectional study. Health Services Research and Managerial Epidemiology, 9, 1-10. doi:10.1177/23333928221088720

Brooks, C., Supramaniam, P. R., & Mittal, M. (2022). Preconception health in the well woman. The Obstetrician & Gynaecologist, 24, 58-66.

Centers for Disease Control and Prevention [CDC]. (2020). Planning for pregnancy. Retrieved from https://www.cdc.gov/preconception/planning.html

Department of Maternal and Child Health, Regional Health Promotion Center 7 Ubon Ratchathani, Department of Health. (2014). Training guide prenatal preparation course for quality parents (preconception care) for spouses. Ubon Ratchathani: We can service express. [in Thai]

Floyd, R. L., Johnson, A. K., Owens, R. J., Verbiest, S., Moore, A. C., & Boyle, C. (2013). A national action plan for promoting preconception health and health care in the United States (2012–2014). Journal of Women’s Health, 22(10), 797-802. doi: 10.1089/jwh.2013.4505

Goossens, J. (2018). Preconception health and care: Perspectives from the reproductive-aged population in Flanders [Unpublished dissertation]. Doctoral degree in Health Sciences, Ghent University.

Goossens, J., Beeckman, D., Hecke, A. V., Delbaere, I., & Verhaeghe, S. (2018). Preconception lifestyle changes in women with planned pregnancies. Midwifery, 56, 112-120.

Kaewpoung, S., Deoisres, W., & Suppaseemanont, W. (2018). Influencing of perception of pregnancy risk, knowledge, and attitude on preconception health behavior among pregnant women. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 26(2), 57-66. [In Thai]

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Ministry of Public Health. (2017). The 2nd national reproductive health development policy and strategy (2017-2026) on the promotion of quality birth and growth. Nonthaburi: Ministry of Public Health. [In Thai]

Ministry of Public Health. (2020). Department of health to reduce HIV infection from mother to child. Retrieved from https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/301163/ [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022