การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ศิริภัททรา จุฑามณี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • ณิชกุล พิชาชาญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • นวลใย พิศชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • ดุษณี บุญพิทักษ์สกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของมารดา, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการ ด้านการจัดการทรัพยากร และด้านการประเมินผลในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และเพื่อการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของอสม. ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนรายชื่อในจังหวัดนครปฐม จำนวน 389 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามระหว่างเดือน ตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของอสม.ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

          ผลการศึกษาพบว่า 1) อสม.มีส่วนร่วม ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อยู่ในระดับมากในทุกด้านที่ศึกษาเรียงตามลำดับคะแนน ได้แก่ ด้านการจัดการทรัพยากร ( = 4.20, SD = 0.59) รองลงมาเป็นด้านการดำเนินการ ( = 4.06, SD = 0.63) ด้านการประเมินผล (= 3.95, SD = 0.62) และด้านการวางแผน (= 3.87, SD = 0.67) 2) การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของอสม. ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)  พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคะแนนดังนี้ ด้านการประเมินผล ( = 3.97, SD = 0.73) รองลงมา คือ ด้านการจัดการทรัพยากร (= 3.94, SD = 0.66) ด้านการดำเนินการ ( = 3.90, SD = 0.65) และด้านการวางแผน (= 3.88, SD = 0.68) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า องค์กรด้านสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

 

References

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Communicable Disease Control Group Department of Mental Health. (2021). Information. Retrieved from https://www.dmh.go.th/

Department of Mental Health. (2021). Information. Retrieved from https://www.dmh.go.th/

Khaopatumthip, K. (2013). Participation of public health volunteers for tambon health promoting hospital in Bhuddha-Monthn district, Nakhonpatom province. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Kijpredarborisuthi, B., & Serekatornkicharoen , P. (2020). Research methods in public health: Case studies on relationship among variables. Bangkok: Churee Products.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Loyha, K., Srisura, D., Raksilp, M., Kuasiri, C., Charoenbu, P., Moonsi, R., Nasa, S., & Wongprasert, J. (2017). The empowerment for the role of health management on themselves among village health volunteer at Bupueai sub-district, Namyuen district Ubon Ratchatani province. Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen, 24(1), 1-13.

Maneein, N., & Duangchinda, A. (2021). Perceived self-efficacy and preventive health behaviors with coronavirus disease 2019 among the elderly in U-Thong district, Suphanburi province. Journal of Council of Community Public Health, 3(2), 1-18.

Nakhon Pathom Provincial Public Health Office. (2021). Situation report on coronavirus disease 2019 (COVID-19) Nakhon Pathom province. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Provincial Public Health Office.

Nawamawat, J., Sittisart, V. Lekphet, K., & Thianthawon, P. (2021). The village health volunteers (VHVs) and community participation for prevention and surveillance of Covid-19 infection by using the geographic information system (GIS). Nonthaburi: Health Systems Research Institute (HSRI).

Phawangkharat, S., Ardchavasuk, S., & Namchu, P. (2020). A study of COVID-19 situation’s surveillance prevention and control in communities towards village health volunteers. Journal of Human Society Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 10(2), 1-20.

Rajkumar, R. P. (2020). COVID-19 and mental health: A review of the existing literature. Asian Journal of Psychiatry, 52(4), 102-166.

Reerom, W. (2016). Development of holistic health for the elderly in Phrae province. Chiang Mai: Maejo University.

Singhalert, R. (2016). Effects of engineers’ creative behaviors on the innovation of products and process of services in the construction management. Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology.

Sridawruan, C., Worawong, J., Chaiwong, C., & Khammathit, A. (2016). The collaboration of village health volunteers: Working on health promotion in primary health care units, North part of Isan region. Journal of Nursing and Health Research, 17(3), 133-144.

Srisaard, B. (2017). Preliminary research. Bangkok: Suwiriyasan.

Tossawut, T., & Mahiwan, P. (2020). The development of social quality of life of people and the prevention of the spreading of coronavirus infectionus disease (Covid-19). Journal of MCU Nakhondhat, 7(9), 40-55.

Vodmongkol, N. (2019). Health promoting model with exercising was be activities stretching muscles and foods nutrition for elderly in Huaymuang Sub-district, Kamphaeng Saen district, Nakhon Pathom province. In The 11th NPRU. national academic conference Nakhon Pathom Rajabhat University (pp. 605-614). Nakhon Pathom : Nakhon Pathom Rajabhat University

Wang, S., Wen, X., Dong, Y., Liu, B., & Cui, M. (2020). Psychological influence of coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic on the general public, medical workers, and patients with mental disorders and its countermeasures. Psychosomatics, 61(6), 616-624.

Wongpathomtip, K. (2017). The participation in the zika virus disease prevention and control for health volunteers in Don Tum district, Nakhon Pathom province. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen, 24(2), 59-67.

Wongpiromsarn, Y. (2020). Mental health and the COVID-19 crisis in Thailand. Journal of Mental Health of Thailand, 28(4), 280-291.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2022