ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและอาการปวดของผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่าง

ผู้แต่ง

  • ณภัชดา ศิริมาสกุล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่าง , โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ , อาการปวดหลังส่วนล่าง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและอาการปวดของผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่าง ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่  โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคปวดหลังส่วนล่าง แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบประเมินอาการปวดหลังที่จำกัดกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินอาการปวดหลังส่วนล่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติที

     ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคปวดหลังส่วนล่าง และพฤติกรรมดูแลตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการประเมินอาการปวดหลังที่จำกัดกิจวัตรประจำวัน และการประเมินอาการปวดหลังส่วนล่างต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลสามารถนำโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย เพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้

References

Aungsirikul, S., Pakdevong, N., & Binhosen, V. (2016). Factors related to health promotion behaviors in patients with low back pain. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(1), 39–50. (In Thai)

Bloom, B. H. (1970). Space/ time trade-offs in hash coding with allowable errors. Communications of the ACM, 13(7), 422-426.

Bureau of Occupational and Environmental Disease. (2017). Situation of occupational and environmental diseases. Nonthaburi: Ministry of Public Health.

Burns, N. A., & Grove, S. K. (2005). Study guide for the practice of nursing research: Conduct, critique, and utilization. Missouri: WB Saunders.

Chalermsan, R., Puntumetakul, R., Dornpunha, W., Kamolrat, T., Chatchawan, U., Pitak, R., & Kaladee, P. (2016). Effects of core stabilization exercise in subacute non-specific low back pain: Pilot study. Journal of Nursing Science and Health, 39(1), 48-60. (In Thai)

Kongsomchom, A., Sudachom, W., & Janwantanakul, P. (2020). What to do for chronic back pain?. Siriraj Med Bull, 13(1), 69-77. (In Thai)

Queen Savang Vadhana Memorial hospital. (2020). Statistics 2020. Chon Buri: Queen Savang Vadhana Memorial Hospital. (In Thai)

Orem, D. E. (1996). The world of the nurse. International Orem Society Newsletter, 4(1), 2–7.

Sae-jung, S., Hunsawong, T., & Jiraratanaphochai, K. (2002). The oswestry low back pain disability questionnaire (Version 1.0) Thai version. Srinagarind Medical Journal, 17(4), 247-253. (In Thai)

Sangsaikaew, A., Korcharoenyos, C., Donprapeng, B., & Sirisawat, M. (2019). The effects of promoting physical activity in daily life program on pain and disability in patients with non–specific low back pain. Songklanagarind Journal of Nursing, 39(1), 93-104. (In Thai)

Sangthong, N., Kaeodumkoeng, K., & Therawiwat, M. (2020). Effects of health promotion program on low back pain preventive behavior of operative nurses at a university hospital, Bangkok. Thai Journal of Health Education, 43(1), 1-11. (In Thai)

Sanjaroensuttikul, N. (2007). The oswestry low back pain disability questionnaire (Version 1.0) Thai version. Journal of the Medical Association of Thailand, 90(7), 1417-1422. (In Thai)

Sophonthat, J. (2005). The effectiveness of health education programs by applying a model of health behavior change in self-care among low back pain patients Chulalongkorn Hospital, Thai Red Cross society. Master’s Thesis, Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University. (In Thai)

Supapvanich, C., Supapvanich, A., & Pongkasert, A. (2019). Prevalence of low back pain in informal sectors at a port harbor in pattani province. Princess of Naradhiwas University Journal, 24(1), 39-50. (In Thai)

Tasai, P., Pirunsan, U., Rapipong, J., & Boontha, N. (2017). Effects of educational and back exercise program in transfer workers with chronic low back pain. Journal of Associated Medical Sciences, 50(2), 245-252. (In Thai)

Tiwawatpakorn, J., Wongkiratimethawi, T., & Sukubol, S. (2021). The development and effectiveness of the Hat-Yai back school program in patients with chronic low back pain. Journal of Physical Therapy, 44(1), 29–46. (In Thai)

Untimanon, O., Boonmeephong, K., Saipang, T., Sukanun, K., Promrat, A., Julraung, P., & Pornpiroonrod, S. (2016). Burden of back pain among working populations. Department of Disease Control, 42(2), 119–129. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022