การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากหลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ พัสดุ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • สุปราณี พลธนะ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
  • เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

สังเคราะห์องค์ความรู้, หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน , ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการจัดหลักสูตรปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานที่ดำเนินงานโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระเบียบวิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อศึกษาสถานการณ์การอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และนำมาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย

     ผลการวิจัยพบว่าการฝึกอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานที่ดำเนินงานโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก เนื่องจากการเรียนการสอนมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ มีรูปแบบเดียวกัน และนำไปใช้ได้จริง จากข้อมูลเชิงคุณภาพได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ 1) การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานควรเป็นสมรรถนะหลักสำหรับประชาชน 2) บรรจุการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพพื้นฐานในทุกระดับการศึกษา 3) ใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมนำไปต่ออายุผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ 4) ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทักษะการปฐมพยาบาลฉุกเฉินด้วยชุมชนเอง 5) ผลักดันให้เกิด “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานประจำตำบล” ทุกพื้นที่ 6) ภาคเอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน 7) ภาครัฐและเอกชนควรกำหนดให้เป็นสมรรถนะหลักของบุคคลที่จะรับเข้าทำงาน 8) ผลักดันให้บรรจุวิชา “การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน” อยู่ในการระบบศึกษาหรือกิจกรรมลูกเสือและเนตรนารี 9) หน่วยงานร่วมมือจัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) ให้บุคคลเข้ารับการฝึกอบรมและ 10) สนับสนุนให้ทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน โดยปัจจัยความสำเร็จในการจัดหลักสูตรเกิดจากการดำเนินงานภายใต้แนวคิดของจิตอาสา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติสามารถนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนี้ไปปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่

References

Alexander, L., & Stanley, K., (1998). Systems theories: Their origins, foundations, and development: Advances in psychology. Amsterdam: Elsevier Science.

Chow, S., Shao, J., & Wang, H. (2003). Sample size calculations in clinical research (2nded.). New York: Champman & Hall/CRC.

Majchrzak, A. (1994). Methods for policy research: Applied social research methods. California: SAGE Publications.

National Institute for Emergency Medicine. (2018). Twenty-year national strategic plan for national institute for emergency medicine (2018-2037). Nonthaburi: NIEM.

National Institute for Emergency Medicine. (2020).Emergency first aid and basic life support training course for village health volunteer, prisoner health volunteer and community emergency volunteer 2020. Nonthaburi: NIEM.

Ponsen, K., Wachiradilok, P., Sirisamutr, T., & Khomnuanroek, N. (2015). The situation and the factors that affect the use of emergency medical services at the emergency department of patient emergency in Thailand. Nonthaburi: National Institute for Emergency Medicine, Ministry of Public Health. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2023