ความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นิตยากร ลุนพรหม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • อุมาพร เคนศิลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สุรีย์พร โพธิ์ช่วย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • เกษฎาภรณ์ นาขะมิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ดวงดาว กระพิลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อาชีวอนามัย, พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย

บทคัดย่อ

     การศึกษาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัย พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยกับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ทำนาเป็นอาชีพหลัก จำนวน 350 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านสุขภาพ แบบสอบถามความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัย และแบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

     ผลการศึกษาพบว่าความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง  พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกรอยู่ในระดับดี และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านการการเข้าใจข้อมูล ด้านการประเมินข้อมูล ด้านการใช้และการสื่อสารข้อมูล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .498, r = .520, r = .655 และ r = .385, p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยให้แก่เกษตรกร และให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานในกลุ่มเกษตรกรชาวนาา

References

Boonsun, S., Seehatep, S., & Samruayruen, K. (2019). Factors influencing pesticide application behaviors of sugarcane farmers at Nabokum sub-district, Muang district, Kamphaeng Phet province. Eau Heritage Journal Science and Technology, 14(2), 92-100. [In Thai]

Chaikoolvatana, A., Manwong, M., & Pakasit, W. (2016). Health knowledge survey of farmers using insect pesticides in 3 Southern Provinces of North-Eastern Thailand. Srinagarind Medical Journal, 31(1), 92-104. [In Thai]

Department of Disease Control. (2019). Occupational health and safety profile: OHSP. Retrieved from http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/2561_05_28_OHSP_UD.pdf [In Thai]

Jongrungrotsakul, W., Chanprasit, C., Kaewthummanukul, T., Wisutthananon, A., & Jaiwilai, W. (2019). Occupational health risk and work-related injuries among rice farmers: Case study in Chiang Mai province. Nursing Journal, 46(4), 37-48. [In Thai]

Kaewdamkerng, K. (2021). Health literacy process practices evaluation tools. Bangkok: ID all digital print. [In Thai]

Lekei, E. E., Ngowi, A. V., & London, L. (2014). Farmers' knowledge, practices and injuries associated with pesticide exposure in rural farming villages in Tanzania. BMC Public Health, 14(389), 1-13.

Naipat, A. (2005). Quantitative and qualitative research methodologies (2nd ed.). Bangkok: Sam Lada Limited Partnership. [In Thai]

National Institute Occupational Safety and Health [NIOSH]. (2021). National health system employers’ health and well-being: Commission occupational health services. Retrieved from http://www.niosh.org/safework/areas of work/hazardous.htm

National Statistical Office Thailand. (2019). The informal employment survey 2017. Bangkok: National Statistical Office. [In Thai]

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267. Retrieved from https://watermark.silverchair.com/150259.pdf

Poonthananiwatkul, B., Yantarapakorn, A., Junthiang, P., Pohboon, C., Ratanawiboonsook, N., & Varathanachotikul, T. (2021). Factors associated with health literacy for self-health care of among people in the working age group. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 4(3), 187-203. [In Thai]

Sorensen, K., Broucke, S. V., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., & Brand, H. (2012). Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 12(80), 1-13. Retrieved from https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/1471-2458-12-80.pdf

Suwannaphant, K., & Seedaket, S. (2019). Health literacy of pineapple growers in regional heath 8. Research and Development Health System Journal, 12(1), 150-157. [In Thai]

Tantranont, K., Wisutthananon, A., Suthakorn, W., Supavititpatana, B., Lirtmunlikaporn, S., & Kampoun, S. (2020). Factors associated with health literacy among working population, NongPa Krang subdistrict, Mueang district, Chiang Mai province. Lanna Public Health Journal, 16(2), 61-71. [In Thai]

Wangdahl, J., Lytsy, P., Martensson, L., & Westerling, R. (2018). Poor health and refraining from seeking health care are associated with comprehensive health literacy among refugees: A Swedish cross-sectional study. International Journal of Public Health, 63(3), 409-419. Retrieved from https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s00038-017-1074-2.pdf

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health science (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022