ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และประสบการณ์เรื่อง กัญชาเพื่อการบำบัดของผู้รับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ : แนวทางของวิถีชาวบ้านแบบไทย

ผู้แต่ง

  • เยาวเรศ ก้านมะลิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • นิตยา ดาวเชิญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • วรรณวิมล ทุมมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • พิชา คนกาญจน์ นักวิชาการอิสระ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาทางการพยาบาลประจำโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี

คำสำคัญ:

กัญชาทางการแพทย์ , ความรู้, ทัศนคติ, ประสบการณ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและประสบการณ์เรื่องกัญชาเพื่อการบำบัดของผู้รับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ : แนวทางของวิถีชาวบ้านแบบไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบความรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์ 3) แบบวัดทัศนคติที่มีต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์และการให้บริการของคลินิก 4) แบบบันทึกพฤติกรรมของการใช้กัญชาทางการแพทย์ และ 5) แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งเครื่องมือส่วนที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่น (KR-21) เท่ากับ .70 เครื่องมือส่วนที่ 3 และ 4 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .84 และ .58 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรรนา

     ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์คะแนนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 6.08, SD = 1.93) 2) ทัศนคติที่มีต่อการใช้บริการของคลินิกกัญชาทางการแพทย์โดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.04, SD = 0.45) โดยเห็นว่าคลินิกกัญชาทางการแพทย์สามารถช่วยเหลือในการบำบัดอาการเจ็บป่วยมากที่สุด 3) พฤติกรรมการใช้กัญชาเพื่อการบำบัดรักษา ส่วนใหญ่ร้อยละ 100 ไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้กัญชาและใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์เพื่อบำบัดอาการผิดปกติมาก่อน ภายหลังการใช้บริการของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ส่งผลให้รับประทานอาหารและนอนหลับได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น หายใจโล่งและเต็มอิ่ม แผลสะเก็ดเงินที่ผิวหนังแห้งและไม่เจ็บ อาการเครียดลดลง แต่ปวดศีรษะบ่อย

     จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า แพทย์ และบุคลากรประจำของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ควรใช้ผลการวิจัยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน และควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพต่อไป

References

Department of Medical Service. (2022). Guidance on Cannabis for medical use. Retrieved From https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Publication/Attach/25651122182642PM_Guidance%20Updated%20V5_update%2029092022_edited2.pdf

Kanato, M. (2015). Management and policy of the cannabis: UK & USA. Research report. Khonkaen: Khonkaen University, Narcotics Control Technology Center, North-easthern region, Thailand.

Kuruvila, M., Venugopalan, P. P., Sridhar, K. S., & Kumar, S. (1997). K A P study on HIV / AIDS among first year MBBS students. Indian Journal of Dermatology, Venereology and Leprology, 63, 225-228.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Lagarde, E., Pison, G., & Enel, C., (1996). Knowledge, attitudes and perception of AIDS in rural Senegal: Relationship to sexual behavior and behavior change. AIDS, 10(3), 327-334. doi: 10.1097/00002030-199603000-00012

Medical Cannabis Committee of the Medical Council of Thailand. (2022).

Medical cannabis guideline for physician. Retrieved from https://tmc.or.th/pdf/fact/guideline_cannabis_101062.pdf.

Ministry of Public Health. (2022). Medical cannabis. Retrieved from https://www.medcannabis.go.th/

Tantisirin K., Narayong K., Chawanon S., Tengapichat W. & Loapiyasakul K. (2020). Handbook for cannabis cultivation permits for farmers. Bangkok: Narcotics Control Division Food and Drug Administration Ministry of Public Health, Thailand.

Vejchasart, C. (2023). Medical cannabis: Alternative choice for relaxing. Retrieved from https://th.yanhee.net/

Wall, M. B., Pope, R., Freeman, T. P., Kowalczyk, O. S., Demetriou, L., Mokrysz, C., Hindocha, C., Lawn, W., Bloomfield, M. A., Freeman, A. M., Feilding, A., Nutt, D., & Curran, H. V. (2019). Dissociable effects of cannabis with and without cannabidiol

on the human brain’s resting-state functional connectivity. Journal of Psychopharmacology, 33(7), 822-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2023