ผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องชนิดส่องกล้อง ที่ใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อที่ประดิษฐ์ขึ้น
คำสำคัญ:
ผลลัพธ์การพยาบาล , การผ่าตัดชนิดส่องกล้อง , ถุงรองรับชิ้นเนื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องชนิดส่องกล้องและใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อที่ประดิษฐ์ขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดในช่องท้องชนิดส่องกล้อง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน กลุ่มทดลอง จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดผลลัพธ์ทางการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกอุบัติการณ์ แบบวัดความพึงพอใจ แบบบันทึกผลการปฏิบัติตนตามคำแนะนำและมาตรวจตามนัด และแบบวัดคุณภาพชีวิต ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha) ของเครื่องมือส่วนที่ 3 และ 5 เท่ากับ .78 และ .69 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติที และไคว์สแควร์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 50 - 59 ปี ไม่พบการรั่วของถุงรองรับชิ้นเนื้อ และพบการติดเชื้อในกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 12.50 มีความพึงพอใจต่อการให้การพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 กลุ่มตัวอย่างสามารถปฏิบัติตนตามคำแนะนำของพยาบาลและการมาตรวจตามนัด คิดเป็นร้อยละ 100 และคุณภาพชีวิตของทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับดีมากและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพหรือประสิทธิภาพของการพยาบาลต่อไป
References
Association of Perioperative Registered Nurses. (2013). Perioperative standards and recommended practices. Denver (CO): AORN.
Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1975). The health belief model: Origins and correlation in psychological theory. Health Education Monography, 2, 336-385.
Chinnoros, S. (2016). Surgical nursing textbook No.4. Bangkok: Ramathibodi school of nursing, Faculty of medicine, Mahidol university.
Food Network Solution. (2022). Polyvinyl chloride. Retrieved from http://www.foodnetworksolution.com
Johnson, N., Barlow, D., Lethaby, A., Tavender, E., Curr, L., & Garry, R. (2015). Methods of hysterectomy: Systemic review and meta-analysis of randomized controlled trials. BMJ Journal, 330(7506), 1478-85. doi: 10.1136/bmj.330.7506.1478.
Maleewong, K., & Prachusilpa, G. (2019). A study of nursing outcome indicators for patients with intestinal ostomy. Vajira Medical Journal, 63(4), 271-82.
Moorhead, S., Johnson, M., Maas, M., & Swanson, E. (2022). Nursing outcomes classification (NOC) measurement of health outcomes (7th). River port Land: Elsevier Inc.
Prathanvanich, P. (2016). Single incision laparoscopic cholecystectomy: SILC. Health Bangkok, 4(2), 6-8.
Salmani, N., Hasanvand, S., Bagheri, I., & Mandegar, S. (2017). Nursing care behaviors perceived by parentsof hospitalized children: A qualitative study. International Journal of Pediatrics, 5(7), 5379-5389.
Singh, S., Singh, P., & Singh, G. (2009). Systemic inflammatory response syndrome outcome insurgical patients. Indian Journal of Surgery, 71(4):206-9.
Stavroulis, A., Memtsa, M., & Yoong, W. (2013). Methods for specimen removal from the peritoneal cavity after laparoscopic excision. Retrieved from http://dx.doiorg/10.1111/j1744-4667.2012.00148.
Teerapattanapong, S. (2022). Kalasin Specimen Retrieval Bag for Laparoscopic Surgery. Khonkaen: Health District Office.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.