ผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติหลักและเทคนิคการพยาบาลแบบผสมผสาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, การฝึกปฏิบัติหลักและเทคนิคการพยาบาล, การเรียนรู้แบบผสมผสานบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และคะแนนความพร้อมในการปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ในชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล พย.1203 ในปีการศึกษา 2564 ที่มีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1)โปรแกรมการเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติหลักและเทคนิคการพยาบาลแบบผสมผสาน 2) แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบวัดความรู้หลักและเทคนิคการพยาบาล จำนวน 30 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความพร้อมในการปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล จำนวน 10 ข้อ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวิจัย ได้ค่า 0.80, 0.96 และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที Paired t- test
ผลการวิจัยพบว่า 1). นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในการปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลหลังการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลแบบผสมผสานสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2). นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลหลังการเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลแบบผสมผสานสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานสามารถส่งเสริมความรู้และความพร้อมในการฝึกปฏิบัติหลักและเทคนิคการพยาบาล ดังนั้นควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้ในการเตรียมความพร้อมการเรียนรู้
References
Anukulvach, A. (2012). The blended learning. Retrieved from http://www.chontech.ac.th [in Thai]
Boromarajonani College of Nursing, Surin. (2517). Bachelor of nursing science program, improved 2017. Praboromrajanok institute. Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. [in Thai]
Carman, J.M. (2005). Blended learning design: Five keys ingredients. Retrieved from http://www.agilantlearning.com/pdf/Blended%20L.pdf.
Comas-Quinn, A. (2011). Learning to teach online or learning to become an online teacher: An exploration of teachers’ experiences in a blended learning course. European Association for Computer Assisted Language Learning, 23(3), 218–232. doi.org/10.1017/S0958344011000152
Gagnon, M., Gagnon, J., Desmartis, M., & Njoya, M. (2013). The impact of blended teaching on knowledge, satisfaction, and self-directed learning in nursing undergraduates: A randomized, controlled trial. Nursing Education Perspectives, 36 (4), 377-382.
Jamjang, S., Autmetakul, W., & Pituksin, D. (2019). The effect of readiness preparation for nursing practice in ward of 2nd year nursing students, Borommarajonnani College of Nursing, Ratchaburi. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 20(3), 147-63. [in Thai]
Janton, S., & Bunlikitkul, T. (2012). Readiness to practice in the fundamentals of nursing practicum among nursing students at the Thai Red Cross College of Nursing. The Thai Red Cross Nursing Journal, 5(1), 32-44. [in Thai]
Jeffrey, L. M., Milne, J., Suddaby, G., & Higgins, A. (2014). Blended learning: How teachers balance the blend of online and classroom components. Journal of Information Technology Education: Research, 13, 121-140. Retrieved from http://www.jite.org/documents/Vol13/JITEv13ResearchP121-140Jeffrey0460.pdf
Jokinen, P., & Mikkonen, I. (2013). Teachers' experiences of teaching in a blended learning environment. Nurse Education in Practice, 13(6), 524–528. https://doi.org/10.1016/j.nepr.2013.03.014
Tantranont, K., Tuanrat, W., & Kaewthummanukul, T. (2018). The application of a blended earning approach to an epidemiology course.. Nursing Journal, 45(1), 100-109. [in Thai]
Tarerum, J. (2019). The principle and technique in nursing practice. Surin: Boromarajonani college of nursing, Surin. [In Thai]
Xuto, P., Niyomkar, & Yothayai, C. (2014). The effect of using blended learning to improve nursing students’ information Technology competency as a way to support training for fourth year nursing student, Faculty of Nursing, Chaingmai University. Journal of Nursing and Education, 7(4), 156-167. [in Thai]
Yimyam, S., Charuwatcharapaniskul, U., Chareonsanti, J., Indarangkura Na Ayutthaya, A., Xuto, P., & Chaloumsuk, N. (2015). Developing on blended learning for developing the 21st century learning skills. Nursing Journal, 42 (Supplement), 129-140. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.