ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่า

ผู้แต่ง

  • ศุภากร เอกมฤเคนทร์ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วารี กังใจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นัยนา พิพัฒน์วณิชชา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพ , ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่า

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และมีแผนการรักษาโดยการผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมดที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 34 คน ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม แต่ละคนที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลในแต่ละวันจะเข้ามาเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบง่าย กลุ่ม 1  ได้เป็นช่วงเวลาของกลุ่มควบคุม 17 รายได้รับการดูแลตามปกติ  และ กลุ่ม 2 เป็นช่วงเวลาของกลุ่มทดลอง 17 ราย ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง และระยะหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และเครื่องมือวัดมุมข้อเข่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าที

     ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่าในกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองมากกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) และคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่าระยะหลังการทดลองในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควมคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<.01)  จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานประจำหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ สามารถนำโปรแกรมการพยาบาลนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว ข้อเข่าในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่ามากขึ้น

References

Bandura, A. (1997). Self- efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Eiampong, L. (2017). Innovation quality development work "I AM" to increase knee angle after knee arthroplasty. Vajira Nursing Journal, 19(2), 45-51. [in Thai]

Feng, J. E., Novikov, D., Anoushiravani, A. A., & Schwarzkopf, R. (2018). Total knee arthroplasty: Improving outcomes with a multidisciplinary approach. Journal of Multidisciplinary Healthcare, 11, 63–73.

Hoogeboom, T. J., van Meeteren, N. L., Schank, K., Kim, R. H., Miner, T., & Stevens-Lapsley, J. E. (2015). Risk factors for delayed inpatient functional recovery after total knee arthroplasty. BioMed Research International, 167643, 1-5.

Jiraworapong, C. (2011). Practice guidelines for rehabilitation of osteoarthritis patients after knee replacement surgery. Regenerative Medicine, 21 (3), 99-102. [in Thai]

Jitapunkul, S., Kamolratanakul, P., Chandraprasert, S., & Bunnag, S. (1994). Disability among Thai elderly living in Klong Toey slum. Journal of the Medical Association of Thailand, 77(5), 231-238.

Jitapunkul, S., Taweekittikul, R., Khamya, T., & Milinthrangkul, C. (1999). Key principles of geriatric medicine. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Kanitnupong, P. (2017). Helping knee replacement practitioner, In Yuenyongwiwat, W. (Ed.), Total knee arthroplasty (pp.253-290). Bangkok: Sahamit Pattana Press. [in Thai]

Ketthanee, R., Waramit, W., Wongthai, A., & Baothong, K. (2018). The effects of self-efficacy promoting and social support program on knee flexion ability among patients undergoing total knee arthroplasty. Mahasarakham Hospital Journal, 15(2), 133-143. [in Thai]

Lei, Y. T., Xie, J. W., Huang, Q., Huang, W., & Pei, F. X. (2021). Benefits of early ambulation within 24 h after total knee arthroplasty: A multicenter retrospective cohort study in China. Military Medical Research, 8(1), 1-7.

Musumeci, G., Mobasheri, A., Trovato, F. M., Szychlinska, M. A., Imbesi, R., & Castrogiovanni, P. (2014). Post-operative rehabilitation and nutrition in osteoarthritis. F1000Research, 3, 1-16.

Prucktrangkun, P. (2020). Effectiveness of a discharge planning program on functional recovery of total knee arthroplasty patients. Journal of Health Research and Innovation, 3(1), 59-75.

Royal College of Orthopedic Surgeons of Thailand. (2010). Osteoarthritis public health service practice guideline. Bangkok: Royal College of Orthopedic Surgeons of Thailand. [in Thai]

Sasuan, A. (2015). The effects of empowerment program implementation on knowledge and rehabilitation of patients after total knee replacement surgery. In Academic Conference and Research Presentation. Nation create and develop to progress towards the ASEAN community. Nakhon Ratchasima. [in Thai]

Srisathitnarakun, B. (2010). Research methods in nursing science (5th ed.). Bangkok: You and I Inter Media. [in Thai]

Thammathatcha-aree, C. (2023). Golden patent free knee replacement surgery elevate the quality of life of patients with osteoarthritis, able to live a normal life and earn a living as before. Retrieved from: https://www.hfocus.org/content/2023/01/26760 [in Thai]

Ungpinitpong, W., Chaipinyo, K., & Chamnongkit, S. (2015). Handbook of rehabilitation of the elderly. After knee replacement surgery. Bangkok: Samanmit Printing. [in Thai]

Yodrat, M., & Chuwattanapakorn, T. (2014). Effects of information provision program readiness together with exercise with elastic on knowledge and ability functions of the body of the elderly after artificial knee replacement surgery. Ministry of Public Health Nursing Journal, 23(3), 63-75. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2023