การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ออกทั้งหมด เนื่องจากมีเนื้องอกในมดลูก: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ พานดอกไม้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง,

คำสำคัญ:

การผ่าตัดมดลูก , ท่อนำไข่ และรังไข่, เนื้องอกในมดลูก, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

     การตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออกทั้งหมดเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในมดลูก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุมาก  การผ่าตัดดังกล่าวอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโลหิตจาง เป็นต้น การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูก เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและกิจกรรมการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออกทั้งหมด เนื่องจากมีเนื้องอกในมดลูก จำนวน 2 ราย โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก แบบบันทึกการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และแบบบันทึกผ่าตัด

     ผลการศึกษาพบว่า ระยะก่อนผ่าตัด กรณีศึกษาทั้งสองรายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื่องจากไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าห้องผ่าตัด ส่วนระยะหลังผ่าตัดกรณีศึกษาทั้งสองรายมีปัญหาและความต้องการคล้ายกันคือ ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด  และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ปัญหาที่แตกต่างกันคือ กรณีศึกษารายที่ 2 มีอายุมากและมีโรคประจำตัวเมื่อเกิดการเสียเลือดจากการผ่าตัด จึงมีความเสี่ยงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่า เช่น ภาวะปอดแฟบ และภาวะท้องอืด ส่งผลให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่า ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้ในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพและกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล

References

Canonico, M., Pesce, G., Bonaventure, A., Le Noan-Laine, M., Benatru, .I, Ranoux, D., Moisan, F., & Elbaz, A. (2021). Increased risk of Parkinson’s disease in women after bilateral oophorectomy. Movement Disorders, 36(7), 1696–1700. doi: 10.1002/mds.28563

Chiang, C-H., Chen, W., Tsai, I-J., Hsu, C. Y., Wang, J. H., Lin, S-Z., & Ding, D-C. (2021). Diabetes mellitus risk after hysterectomy: A population-based retrospective cohort study. Medicine, 100(4), 24468. doi: 10.1097/MD.0000000000024468.

Cusimano, M. C., Chiu, M., Ferguson, S. E., Moineddin, R., Aktar, S., Liu, N., & Baxter, N. N. (2021). Association of bilateral salpingo-oophorectomy with all cause and cause specific mortality: Population based cohort study. British Medical Journal, 375, 1-13. doi: 10.1136/bmj-2021-067528

Georgakis, M. K., Gill, D., Rannikmae, K., Traylor, M., & Anderson, C. D. (2019). Genetically determined leels of circulating cytokines and risk of stroke role monocyste chemoattractant protein-1. American Heart Association, 139, 256–268. DOI: 10.1161/CIRCULATIONAHA.118.035905

Gofur, N. R. P. (2021). Uterine myoma, risk factor and pathophysiology: A review article, Clinics of oncology, 4(3), 1-4.

Jimarsa, L., & Changjeraja, W. (2020). The effect of preoperative preparatory program on anxiety and complications in patients underwent cataract surgery in ophthalmology clinic at Bueng Kan hospital. Academic Journal of Mahasarakham provincial public health office, 4(7), 75-87. [in Thai]

Matthews, K. A., Gibson, C. J., EL khoudary, S. R., & Thurston, R. C. (2013). Changes in cardiovascular risk factors by hysterectomy status with and without oophorectomy: Study of women's health across the nation. Journal of the American College of Cardiology, 62(3), 191–200.

Mytton, J., Evison, F., Chilton, P. J., Lilford, R. J. (2017). Removal of all ovarian tissue versus conserving ovarian tissue at time of hysterectomy in premenopausal patients with benign disease: study using routine data and data linkage. British Medical Journal, 356, 1-9. doi: 10.1136/bmj.j372

Phaliwong, P. (2020). The effect of myoma uteri on infertility. Siriraj Medical Journal. 72(5), 443-450. [in Thai]

Pumsaimoon, N. (2017). Risk factors of major cardiovascular complication during surgery among elderly patients in Vachira Phuket hospital. Region11 Medical Journal, 31(4), 675-684. [in Thai]

Stewart, E. A., Cookson, C. L., Gandolfo, R. A., & Schulze-Rath, R. (2017). Epidemiology of uterine fibroids: A systematic review. British Journal of Obstetrics and Gynaecology, 124(10), 1501-1512. doi: 10.1111/1471-0528.14640

Welten, J. G .C., Onland-Moret N. C., Boer, M. A., Verschuren, W. M., & Van der Schouw, Y. T. (2021). Age at menopause and risk of ischemic and hemorrhagic stroke. Clinical and population sciences. 52(8), 2583-2591. doi.org/10.1161/STROKEAHA. 120.030 558Stroke. 2021;52:2583–2591

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024