ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองและการรับประทานยา ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือด ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางของ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อมรเลิศ พันธ์วัตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กัญญาพัชญ์ จาอ้าย คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
  • เจนนารา วงศ์ปาลี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ชัชฎาภรณ์ นันทขว้าง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิริรัตน์ วรรธกจตุรพร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, กลุ่มงานบริการผู้คลอด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสันทราย

คำสำคัญ:

ภาวะซีดในสตรีตั้งครรภ์ , โปรแกรมในการส่่งเสริมการดููแลตนเองและการรับประทานยา , ทฤษฎีพยาบาลโอเร็ม , การวิจัยกึ่งทดลอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของโปรแกรมในการส่งเสริมการดูแลตนเองและการรับประทานยาในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ราย คัดเลือกด้วยเทคนิคการสุ่มตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มแบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมในการส่งเสริมการดูแลตนเองและการรับประทานยา เป็น 2 กลุ่ม ตามวันที่มาฝากครรภ์ คือ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานในวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ เป็นวันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมในการส่งเสริมการดูแลตนเองและการรับประทานยา แผนการสอน  คู่มือการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และการติดตามทางแอปพลิเคชันไลน์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก ค่าความเข้มข้นของเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติค่าที

     ผลวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมในการส่งเสริมการดูแลตนเองและการรับประทานยา มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ยาเสริมธาตุเหล็กและค่าความเข้มข้นของเลือดหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.466, p<.05) (t=-3.53, p<.05) นอกจากนี้หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมในการส่งเสริมการดูแลตนเองและการรับประทานยา มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t=-6.913, p<.05) (t=-2.680, p<.05) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลแผนกฝากครรภ์สามารถนำโปรแกรมในการส่งเสริมการดูแลตนเองและการรับประทานยา ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และยาเสริมธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้

References

Abd Rahman, R., Idris, I. B., Md Isa, Z., & Abd Rahman, R. (2022). The effectiveness of a theory-based intervention program for pregnant women with anemia: A randomized control trial. PLoS ONE 17(12): e0278192. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0278192.

Abujilban, S., Hatamleh, R., & Al-Shuqerat, S. (2019). The impact of a planned health educational program on the compliance and knowledge of Jordanian pregnant women with anemia. Women & Health, 59(7), 748-759.Retrieved from https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/194488

Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (2024). The 2nd National Reproductive Health Development Policy and Strategy (2017-2026) on the Promotion of Quality Birth and Growth. Retrieved from http://plan.psru.ac.th/index.php?module=policy&id=225

Bunyaprapaphan, T.,Saeng-in S., & Sirirarunrat, S. (2020). Results of the support program and provide knowledge about behavior self-care and hematocrit levels in pregnant women with iron deficiency anemia. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 26(4), 40-50. [In Thai]

Department of Health, Ministry of Public Health. (2024). Information system supporting health promotion and environmental health, Department of Health: Anemia in pregnant women Health district level. Retrieved from https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/anemia?year=2023

Fatthy, A., & Ezzat, N. (2020). A smartphone-based health behavioral intervention for pregnant women with iron deficiency anemia. Egyptian Journal of Health Care,11 (2).1163-1175.

Jeno, M. (2012). Results of the support and education program to reduce anemia on self-care behavior of pregnant Muslim women. (Doctoral dissertation, Prince of Songkla University.). [In Thai]

Khampila, W., Thitiyarnviroj, B., Raksee, S., Manadee, P., Tubsai, T., & Singsiricharoenkul, S. (2022). Caring for pregnant women with Iron deficiency anemia: The challenging role of nurses. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 30(2),134-142. [In Thai]

Lamo, S., Yangwanichset, S., & Thitimapong, B. (2021). Effects of the nutrition promotion program on food consumption behavior and Iron supplements and blood concentration in teenage pregnant women with anemia. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 31(1), 224-236. [In Thai]

Nantsuphawat, N. (2020). Anemia in pregnant foreign women who receive prenatal care and give birth at San Sai Hospital. Chiang Mai Province. Journal of Primary Care and Family Medicine Systems, 3(1), 36-45. [In Thai]

Puwang, W. (2020). Prevalence and risk factors of anemia in pregnant women giving birth in hospitals. Nong Khai. Journal of Nursing, Health and Education. 18 (3).18-19[In Thai]

Rahman, R., Idris, I. B., Isa, Z., & Rahman, R. (2022). The effectiveness of a theory-based intervention program for pregnant women with anemia: A randomized control trial. PloS ONE, 17(12), e0278192. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0278192

Rahmati, S., Delpishe, A., Azami, M., Hafezi-Ahmadi, M. R., & Sayehmiri, K. (2017). Maternal anemia during pregnancy and infant low birth weight: A systematic review and meta- analysis. International Journal Reproductive Biomed. 15(3),125–134.

Silpawittayathorn, B., & Chitpakdee, B. (2020). The use of health information technology in nursing for patient safety. .Journal of Nursing and Health Care.38(2), 6-14.

Sueram, K. (2022). Application of Orem's theory in nursing children with pneumonia: A case study. Journal of Nursing Science & Health Volume 45(3), 23-36.

Seaharattanapatum, B., Sinsuksai, N., Phumonsakul, S., & Chansatitporn, N. (2021). Effectiveness of balanced diet-iron supplement program among pregnant women with anemia: A quasi-experimental study. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 25(4), 653-665.

Tümkaya, M.,N., Eroğlu, K., & Karaçam, Z. (2024). The effect of Orem's self-care deficit theory-based care during pregnancy and postpartum period on health outcomes: A systematic review and meta-analysis. International Journal of Nursing Practice, 29, e13300. 1-12. doi: 10.1111/ijn.13300.

Techakamphonsarakit, L., Kantharaksa K., & Saensiriphan, N. (2018) Methods for promoting preventing anemia in pregnant women: A systematic review. Nursing Journal. 5(1), 62- 74. [In Thai]

Tongsong, T., & Wanapirak, C. (2021). Obstetrics (6th ed.). Chiang Mai: Department of Obstetrics andGynaecology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University.

World Health Organization [WHO]. (2021). Worldwide prevalence of anemia 2016 - 2019, WHO Globaldatabase on anemia. Retrieved from https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/anaemia_in_women_and_children.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024